ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วดี วุฒิพันธ์

คำสำคัญ:

ห้องฉุกเฉิน, โรงพยาบาลอุดรธานี, บริการการแพทย์ฉุกเฉิน, 1669

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี

          วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 -31 สิงหาคม 2565  โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลอุดรธานี  จำนวน 129 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้ Pearson chi square และ Student’s t-test

          ผลการศึกษา : ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การมีรถส่วนตัว (p<0.001), การเคยใช้บริการมาก่อน (p=0.001), การรอรับบริการนานเกิน 10 นาที (p=0.03), ความเชื่อว่า 1669 ให้บริการเฉพาะผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเท่านั้น (p<0.001), ความสะดวกในการแจ้งเหตุ (p=0.007) และการได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่จุดเกิดเหตุ (p=0.031)

          สรุปผลการศึกษา : เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงหลักการและประโยชน์ของบริการการแพทย์ฉุกเฉินมากขึ้น และพัฒนาระบบให้ดีขึ้นเพื่อให้ประชากรเข้าถึงการรักษาได้อย่างเท่าเทียมและทันท่วงที

References

World Health Organization. International Health Regulations (2005) [Internet]. 2005 [cited 2022 Mar 1]. Available from: https://www.who.int/publications-detail-redirect/9789241580410

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสาธารณสุขไทยปี 2554-2558. กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

คณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2553 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2553.

Hans Husum, Mads Gilbert, Torben Wisborg, Yang Van Heng, Mudhafar Murad. Rural Prehospital Trauma Systems Improve Trauma Outcome in Low-Income Countries: A Prospective Study from North Iraq and Cambodia. J Trauma Inj Infect Crit Care. 2003 Jun;54(6):1188–96.

C. Gordon-Thomson, R. S. Mason, G. P. M. Moore. Regulation of epidermal growth factor receptor expression in human melanocytes: EGFR in human melanocytes. Exp Dermatol. 2001 Oct;10(5):321–8.

วิทยา ชาติบัญชาชัย และไพศาล โชติกล่อม. ผู้ป่วยที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS Service) และผู้ป่วยที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน (ER Visit) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2554. ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น; 2556.

สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. หลักประกันสุขภาพในสายตาประชาชน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543.

กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด และณัฐวุฒิ คำนวนฤกษ์. สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในประเทศไทย. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

สุรภา ขุนทองแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2019 Apr 29;2(1):31–44.

เจริญ ปราบปรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดพัทลุง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2020 Dec 31;2(2):199–212.

นงคราญ ใจเพียร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน และฉุกเฉินเร่งด่วนในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. J Nurs Health Res. 2021 Apr 27;22(1):52–66.

ศันยวิทย์ พึงประเสริฐ. การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลือกใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่มีอาการภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาที ก่อนมาถึงโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2018;56–65.

ธงชัย อามาตยบัณฑิต, นิพนธ์ มานะสถิตพงศ์, อินทนิล เชื้อบุญชัย. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560;37–46.

อดิศักดิ์ นิธิเมธาโชค, จุฬณี สังเกตชน, ภัทร สุทธิจามร. อัตราการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและฉุกเฉินวิกฤตในเขตเมือง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2018;62(2):85

กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, ณัฐวุฒิ คำนวนฤกษ์. สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2559.

ณัชชา หาญสุทธิเวชกุล, บริบูรณ์ เชนธนากิจ, บวร วิทยชํานาญกุล. เหตุใดคนเชียงใหม่เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุจึงไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555;6(2): 268-77.

Nichole Bosson, Michael A Redlener, George L Foltin, Maria C Raven, Mark P Foran, Stephen P Wall. Barriers to utilization of pre-hospital emergency medical services among residents in Libreville, Gabon: A qualitative study. African Journal of Emergency Medicine. 2013;3(4):172-7

พิมพ์ณดา อภิบาลศรี, บุญสม เกษะประดิษฐ์. วิเคราะห์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรม การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชากรในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561:291-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27