ผลการรักษาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Diffuse Large B-Cell Lymphoma ในโรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, อัตราการรอดชีวิต, ระยะเวลารอดชีวิตมัธยฐาน, การพยากรณ์โรคบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลการรักษาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด DLBCL ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด DLBCL และได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2563 และได้ลงทะเบียนข้อมูลโรคมะเร็งของโรงพยาบาลมหาสารคาม
ผลการศึกษา : ประชากรที่ทำการศึกษาทั้งหมด 46 ราย ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมีอัตราการตอบสนองของโรคโดยรวมร้อยละ 73.91 โดยคิดเป็นการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ (complete response; CR) ร้อยละ 69.57 อัตราการรอดชีวิตโดยรวมที่ 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 93.48 อัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปีร้อยละ 63.04 และอัตราการรอดชีวิตที่ 2 ปี ร้อยละ 54.35 โดยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคในระยะที่ 1 มีอัตราการรอดชีวิตที่ 6 เดือนสูงสุด คือร้อยละ 100 ผู้ป่วยที่มีโรคในระยะที่ 2 มีอัตราการรอดชีวิตที่ 6 เดือนร้อยละ 91.3 และเมื่อวิเคราะห์อัตราการรอดชีวิตจาก การประเมินสภาวะผู้ป่วยตาม ECOG performance status พบว่าผู้ป่วยที่มี ECOG เท่ากับ 0 มีอัตราการรอดชีวิตที่ 6 เดือนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 95.65 จากการศึกษาพบว่าระดับ LDH และ ECOG performance status มีผลต่อระยะเวลารอดชีวิตมัธยฐาน (median survival) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.010 และ 0.038 ตามลำดับ)
สรุปผลการศึกษา : ผู้ป่วย DLBCL ที่ได้รับการรักษามีผลการตอบสนองโดยรวมร้อยละ 73.91 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ได้แก่ ระดับ LDH และ ECOG performance status
References
ณรงค์ ชัยวุฒินันท์, อุมาพร อุดมทรัพยากุล. ผลการรักษาผู้ป่วย non-Hodgkin Lymphoma ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562;403-416
PiyapongKanya, Piyapornsirijanchune, NonlawanChueamuangchan. Overall survival and risk factors of relapsed or refractory of the treatment of diffuse large B cell lymphoma in chiangraiprachanukroh hospital. เชียงรายเวชสาร. 2020;11-12
ปวีณรัตน์ ลิมปวิทยากุล. ระยะเวลารอดชีวิตมัธยฐานและปัจจัยพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Diffuse Large B cell. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(2):216-221
ถนอมศรี ศรีชัยกุล, วิชัย ประยูรวิวัฒน์, วิเชียร มงคลศรีตระกูล, วิชัย อติชาตการ, บุญสม ชัยมงคล, อนงค์ เพียรกิจกรรม, และคณะ.การรักษาผู้ป่วย NHL:ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ CHOP และ CEOP จาก 5 สถาบันระหว่างปี ค.ศ. 1986-1988. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2537;2:93-100.
กาญจนา จันทร์สูง. ภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาเคมีบำบัด. วารสารโลหิตวิทยา และเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2550;155-167
ธานินทร์ อินทรกำธรชย. แนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง. กรุงเทพฯ : สมาคมโลหิตวิทยา.
vanBesien K, Ha CS, Murphy S, McLaughlin P, Rodriguez A, Amin K, et al. Risk factors, treatment, and outcome of central nervous system recurrence in adults with intermediate grade and immunoblastic lymphoma. Blood. 1998;91:1178–1184.
Zucca E, Conconi A, Mughal TI, Sarris AH, Seymour JF, Vitolo U, et al. Patterns of outcome and prognostic factors in primary large-cell lymphoma of the testis in a survey by the international extranodal lymphoma study group. J Clin Oncol 2003;21:20–27.
NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®). Hematopoietic Growth Factors 2019 [cited 2019 1 October]. Version 2.2019:[Available from: https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/growthfactors.pdf.
Weycker D, Barron R, Kartashov A, Legg J, Lyman GH. Incidence, treatment, and consequences of chemotherapy-induced febrile neutropenia in the inpatient and outpatient settings. J Oncol Pharm Pract. 2014;20(3):190-8.
Klastersky J, de Naurois J, Rolston K, Rapoport B, Maschmeyer G, Aapro M, et al. Management of febrile neutropaenia: ESMO Clinical Practice Guidelines. Ann Oncol. 2016;27(suppl 5):v111-v8.
NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®). Prevention and Treatment of Cancer-Related Infections 2018 [cited 2019 1 October]. Version 1.2018:[Available from: https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/ pdf/infections.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม