ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รัศมี เกตุธานี -
  • ชนะพล ศรีฤาชา
  • นฤมล สินสุพรรณ

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในโรงพยาบาลมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบออกแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมคัดเลือกแบบเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองดำเนินการดูแลโดยใช้โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน และกลุ่มควบคุมให้การพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความรู้  การรับรู้ ความคาดหวังในการดูแลตนเองและพฤติกรรมในการดูแลตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 โดยผู้สัมภาษณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงเปรียบเทียบใช้ Chi-Square test, Paired t-test และ Independent t-test

ผลการศึกษา : พบว่า อัตราการเข้าร่วมตลอดโครงการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 100  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.8 มีอายุเฉลี่ย 77.50 ปี (SD 7.14) มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ร้อยละ 34.5 และผู้ป่วยทุกรายมีผู้ดูแลในครอบครัว ผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน (11.86, SD 0.35) มากกว่าก่อนการทดลอง (3.34, SD 0.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของด้านการรับรู้ ความคาดหวังในการดูแสตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองและผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีระยะเวลาเฉลี่ยของการนอนรักษาในโรงพยาบาลลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ที่ดำเนินการโดยพยาบาลและทีมสหสาขานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยบริการที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้

References

United Nations. World population prospects: The 2017 revision [Internet]. (2017).

[cited 2021 Nov 23]. Available from : https://esa.un.org/unpd/wpp/Publications/Files/WPP2017_KeyFindings.pdf.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. โครงสร้างประชากรไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบใน พ.ศ. 2564

[อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ย. 256] : เข้าถึงได้จาก : http://www.dop.go.th/th.

De Joode, S. G. C. J., Kalmet, P. H. S., Fiddelers, A. A. A., Poeze, M., & Blokhuis, T. J. Long- term functional outcome after a low-energy hip fracture in elderly patients. Journal of Orthopaedics and Traumatology. 2019;20(1):1-7.

ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์รณรงค์ให้รู้จักป้องกัน กระดูกหักจากโรค กระดูกพรุน [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.hfocus.org/ content/2019/10/17969.

Cyrus Coope. The crippling consequences of fractures and their impact on quality of life. The American. Journal of Medicine. 1997;18(103): S12-S19.

กนกพร จิวประสาท. การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก : ประเด็นท้าทาย

ทางการพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล. 2562;21(1):51-66.

งานสารสนเทศโรงพยาบาลมหาสารคาม. สถิติผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม.(2564). ปี 2561-2564.

Bandura, A. Self-Efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychology Review Issues. 1977;84(2):191-215.

วีนา วงษ์งาม, กนกพร สุคำวัง, และ ภารดี นานาศิลป์. ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น. พยาบาลสาร. 2558;41(2): 72-82.

Pender, N. Health promotion in nursing practice (3rd ed.). 1996. Stamford, CT: Appleton and Lange.

เสาวภา อินผา. โปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโรงพยาบาลศิริราช [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.

ศุภพร ศรีพิมาน, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา และชุติวรรณ ปุรินทราภิบาล. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก หอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสงขลา. 2020;3(2):149-165

นัยนา ธัญธาดาพันธ์, เรณุการ์ ทองคำรอด, บุญทิพย์ สิริธรังศรี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้าง

พลังอำนาจผู้ดูแลต่อความรู้ ความสามารถในการดูแล และการฟื้นสภาพ หลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสตูล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2020;13(2):231-239.

สุขฤทัย วิโรจน์ยุติ, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, สุปรียา ตันสกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักของผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(2):45 57.

Wen-Yi Chou. Relationship between the social support and self-efficacy for function ability in patients undergoing primary hip replacement. Journal of Orthopaedic Surgery and Research. 2018; 3(150):1-8.

Espen Andreas Brembo et al. Role of self-efficacy and social support in short-term recovery after total hip replacement: a prospective cohort study. Health and Quality of Life Outcomes. 2017;15(68):1-10.

หทัยทิพย์ ใจปิติ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุ หลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทียม. 2561;19(ฉบับพิเศษ):119-117.

ธนพร รัตนาธรรมวัฒน์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2561;10(2):289-295.

วีนา วงษ์งาม, กนกพร สุคำวัง, และ ภารดี นานาศิลป์. ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น. พยาบาลสาร. 2558; 41(2):72-82.

Meng et al. Efectiveness of self-efcacy-enhancing interventions on rehabilitation following total hip replacement: a randomized controlled trial with six-month follow-up. Journal of Orthopaedic Surgery and Research. 2022;17(225):1-11.

พัชรรินทร์ เนียมเกิด, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และสุพร ดนัยดุษฎีกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม.วารสารการพยาบาล. 2020;35(4):99-111.

กนกพร จิวประสาท. การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก : ประเด็นท้าทายทางการพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล. 2562; 21(1): 51-66.

ภาสิต ศิริเทศ, ณพวิทย์ ธรรมสีหา. ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับพฤติกรรมการ

ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562;20(2):58-65.

Olsson et al. Evaluation of person-centred care after hip replacement-a controlled before and after study on the effects of fear of movement and self-efficacy compared to standard care. BMC Nursing. 2016;15(33):1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24