ผลของการฟื้นฟูสุขภาพที่บ้านผ่านระบบไลน์แอปพลิเคชั่นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื่อรัง

ผู้แต่ง

  • กนกทิพ ลี้ประกอบบุญ Photak Hospital

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน, ภาวะหายใจลำบาก, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ระบบไลน์แอปพลิเคชั่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการฟื้นฟูสุขภาพที่บ้านผ่านระบบไลน์แอปพลิเคชั่น ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลโพธิ์ตาก จำนวน 30 คน
ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการฟื้นฟูสุขภาพที่บ้านผ่านระบบไลน์แอปพลิเคชั่น การลงเยี่ยมบ้าน และโทรศัพท์ติดตามรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบประเมินภาวะหายใจลำบาก (MMRC) 2) แบบสอบถามความสามารถในการจัดการอาการหายใจลำบาก
3) แบบสอบถามการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการหายใจลำบาก ใช้เวลาดำเนินการศึกษาทั้งหมด 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test

ผลการศึกษา : ภายหลังทดลอง พบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะหายใจลำบากระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p-value > 0.05) ทั้งนี้เพราะการฟื้นฟูสุขภาพปอดจะต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะเห็นผลได้ ขณะที่ความสามารถในการจัดการอาการหายใจลำบาก และการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการหายใจลำบาก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  

สรุปผลการศึกษา : การถ่ายทอดความรู้ การฝึกทักษะในการจัดการตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การลงเยี่ยมบ้านและโทรศัพท์ติดตามรายบุคคลกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความสามารถของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในการจัดการสุขภาพตนเองเพื่อลดอาการหายใจลำบากได้เป็นอย่างดี

References

Abdel-Aaty, H. E.-S., Zamzam, M. A., Azab, N. Y., et all. Comparison of GOLD classification and modified BODE index as Staging systems of COPD. Egyptian Journal of Chest Diseases and Tuberculosis. 2014; 63 (4): 821-828.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung disease (GOLD). Global strategy for the Diagnosis, management and prevention of chronic obstructive pulmonary disease-update 2013 [Internet]. [Cited 2022 Jul 22]. Available from: http://www.goldcopd.org/uploads/users/files/GOLD_Report_2013_Feb20.pdf

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. กรุงเทพฯ : กราฟฟิกดีไซด์; 2553.

World Health Organization. COPD predicted to be third leading cause of death in 2030 [Internet]. [Cited 2022 Jan 16]. Available from: http://www.who.int/respiratory/copd/World_Health_Statistics_ /en/.

ศรันญพัชร์ ปัญญจินตวัฒน, ภาสกร คุ้มศิริ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรักษาแบบผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2564;11(2):407-417.

อุทัยชนินทร์ จันทร์แก้ว, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะโดยการให้ข้อมูลและการสร้างแรงจูงใจต่ออาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(1): 84-97.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานประจำปี 2564 [Internet]. [Cited 2022 Feb 28]. Available from: https://wwwnko2.moph.go.th/plan/index.php?plan=w5-yearreport

เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2560.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปะการจัดการ. 2560;1(2):75-88.

Cockcroft AE, Saunders MJ, Berry G. (1981). Randomized controlled trial of rehabilitation in Chronic Respiratory disability. Thorax. 1981;36:200-3.

Oh EG. The effects of home based pulmonary rehabilitation in patients with Chronic Lung Disease. Int J Nurse Stud. 2003;40:873-9.

อารีรัตน์ ชวนคิด, กุลระวี วิวัฒนชีวิน. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพและประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลป่าแดด. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2561;5(1):59-75.

สมฤทัย บุญชูดวง, วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, อำพรรณ จันทโรกร, วิรัตน์ วศินวงศ์. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์ เรื่อง การฝึกหายใจแบบมีประสิทธิภาพเพื่อเตรียมตัวก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. ศรีนครินทร์ เวชสาร. 2555;27(2):139-146.

Jeste DV, Dunn LB, Folsom DP, Zisook D. (2008). Multimedia education aids for improving Consumer knowledge about illness management and treatment decisions. J Psychiatry Res.2008; 42:1-21.

Bandura, A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.

เนตรนภา คู่พันธวี, นุชรัตน์ จันทโร. ผลการสนับสนุนการจัดการตัวเองต่อความสามารถในการจัดการ อาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

Tabak, M., Akker, H., & Hermie, H. Motivational cues as real-time feedback for changing daily activity Behavior of patients with COPD. Patient Education and Counseling. 2014;94:372-378.

สุทัศน์ พิภพสุทธิไพบูลย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองสาหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดใน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

Szyndlera, J. E., Townsa, S. J., Peter, P., & McKay, O. K. Psychological and family Functioning and quality Of life in adolescents with cystic fibrosis. Journal of Cystic Fibrosis. 2005;4(2):135-144.

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, ละเอียด จารุสมบัติ, พิทักษ์ ไชยกูล, เวทิส ประทุมศรี. ผลของการโปรแกรมการ จัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และความทนทานในการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารรามาการพยาบาล. 2558;21(3):352-367.

ลินนภัสร์ ธนะวงค์, พิกุล นันทชัยพันธ์, ประทุม สร้อยวงค์. ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกายและการใช้บริการสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร. 2559;43(2):45-56.

ศิริวัฒน์ วงค์พุทธคำ. ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้ป่วยความดัน โลหิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

ปิยาภรณ์ ด้วงนิล. การพัฒนาการส่งเสริมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, ชดชอย วัฒนา, พีระพงค์ กิติภาวงค์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองภาวะหายใจลำบาก ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว วารสารพยาบาล. 2555;39(1):64-76.

Lorig, K., & Holman, H. Self-management education: history, definition, Outcomes, and Mechanisms. Annals of Behavioral Medicine. 2003;26(1):1-7.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานการพัฒนาคุณภาพการบริการในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Clip) “การให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง”. [Internet]. [Cited 2022 Aug 18]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1188820211015084413.pdf

Dodd, M., & et all. Nursing theory and concept development or analysis: Advancing the Science of Symptom management. Journal of Advanced Nursing. 2001;33:688-676.

มาณี น้าคณาคุปต์, พิไลวรรณ ใจชื้น. ผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์เรื่องการทำคลอดต่อความรู้ ความมั่นใจทักษะปฏิบัติการทำคลอด และความพึงพอใจต่อสื่อวีดีทัศน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต. วารสารสภาการพยาบาล. 2565;37(2):81-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24