การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 ของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สายวลุน จันทคาม -
  • นฤมล สินสุพรรณ
  • ชนะพล ศรีฤาชา

คำสำคัญ:

แนวทางการดูแล, ผู้ป่วยวิกฤต, โควิด 19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 ของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์ (Action Research) ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด 19 ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด 19 และ
ระยะที่ 3 ประเมินความรู้ ความสามารถ และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง  (Purposive sampling) คือ พยาบาลวิชาชีพ ในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเกต สนทนากลุ่ม แบบประเมินความรู้ 
แบบประเมินความสามารถ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ได้แก่ Paired Samples -t-test

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่อายุ 25-30 ปี โดยพบว่า 1. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด 19 สำหรับพยาบาลวิชาชีพหลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01  2. พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด 19 สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01และ3)ความพึงพอใจต่อการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด 19 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจ ภายหลังการพัฒนามีความพึงพอใจมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปผลการศึกษา : พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยเฉพาะโรคมีความรู้  ความสามารถและความพึงพอใจในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในกรณีฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดในประเทศไทย กรมควบคุมโรค;2563.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนคลายธุรกิจและกิจกรรมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19. สำนักพิมพ์บางกอกกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์;2563.

World Health Organization. WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard [Internet].2020 [cited 2022 July 22]. Available from: https://covid19.who.int/.

Srinivas Murthy, Charles D. Gomersall,Robert Care for Critically Ill Patients With COVID-19. JAMA. 2020;323(15):1499-1500.

Long, QX., Tang, XJ., Shi, QL. et al. Clinical and immunological assessment of asymptomatic SARS-CoV-2 infections. Nature Medicine. 2020 Aug;26(8):1200-1204. DOI: 10.1038/s41591-020-0965-6. PMID: 32555424.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปตัวชี้วัด เกณฑ์ และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2564. มหาสารคาม;2564.

Kemmis,S.&Mc.Taggart,R. The action Research Reader: Third edition. Deakin University Press. Victoria.1988.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี และภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2564;30(1).

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า. 2564.มกราคม–เมษายน;4(1):30-48.

ธวัชชัย ยืนยาว และเพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563;35(3):555-64.

Taghrir MH, Borazjani R, Shiraly R. COVID-19 and Iranian medical student; A survey on Theirrelated-knowledge, preventive behaviors and risk perception. Arch Iran Med. 2020 Apr 1;23(4):249-254. doi: 10.34172/aim.2020.06.

วิชัย วงษ์ใหญ่. “ความรู้”สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา:2552. หน้า 181–84.

Li H, Dong S, He L, Wang R, Long S, He F, Tang H, Feng L. Nurses' core emergency competencies for COVID-19 in China: A cross-sectional study. Int Nurs Rev. 2021 Dec;68(4):524-532. doi: 10.1111/inr.12692. Epub 2021 May 27. PMID: 34043839; PMCID: PMC8242649.

นงค์ณพัชร์ มณีอินทร์ และอิทธิพล ดวงจินดา. การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564.พฤษภาคม–สิงหาคม;3(2564):1-18.

สมพร สังข์แก้ว,ธีรนุช ห้านิรัติศัย และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่. วารสารสภาการพยาบาล.2563. กรกฎาคม-กันยายน;35(3):70-86.

Yaffee AQ, Isakov A, Wu HM. How Can Emergency Departments Better Prepare for Emerging Infectious Disease Threats? A Returned Traveler With Fever Walks Into Triage…. J Emerg Med. 2019 May;56(5):568-570. doi: 10.1016/j.jemermed.2018.12.049. PMID: 31036160; PMCID: PMC7134696.

นางธัญพร จรุงจิตร. ประสิทธิผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ Home Isolationโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก. วารสารพยาบาล. 2564;70(3):64-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24