การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อุไร โชควรกุล -

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลรักษา, ผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ให้บริการ ได้แก่ ทีมสหวิชาชีพ และทีมสุขภาพเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จำนวน 53 คน ภาคีเครือข่าย จำนวน 50 คน และกลุ่มผู้รับบริการซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. แบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรค 2. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยวัณโรค และ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ ขั้นตอนการดำเนินการ 3 ระยะ 1. เตรียมการ 2. ดำเนินการ 3. ประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้ paired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษา : 1. ระยะเตรียมการ พบปัญหา การติดตามคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงยังไม่ครอบคลุม ผู้ป่วยมารับการรักษาล่าช้า ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน ระบบ DOT ยังไม่มีประสิทธิภาพ ระบบการควบคุมและป้องกันวัณโรคในชุมชนก็ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน 2. ระยะดำเนินการ โดยจัดประชุมทบทวนแนวทางปฏิบัติ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมกลุ่มย่อยระดมสมอง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค 3. ระยะประเมินผล พบว่ารูปแบบการดูแลรักษาวัณโรคอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย
การจัดระบบบริการ การประสานงานส่งต่อข้อมูล และการติดตามดูแลต่อเนื่องโดยพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ติดตามเยี่ยมบ้าน ผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคพบว่ามีการปฏิบัติตามแผนการรักษาวัณโรคเพิ่มขึ้น ส่วนผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่า อัตราการรักษาสำเร็จ 91.76 อัตราการขาดยา 1.2 และอัตราตายของผู้ป่วยวัณโรค 8.26 ผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

References

World Health organization. Global tuberculosis report 2017. Geneva: World Health Organization; 2017.

สำนักโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและ ป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณ

โรค พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

ระบบรายงานโปรแกรม NTIP, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2563.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.

สุรเดชช ชวะเดช. การพัฒนารูปแบบการรักษาวัณโรคแบบ DOT อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561; 8(3): 340-51.

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, สุพร กาวินำ. การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานควบคุมวัณโรคในพื้นที่จังหวัดตาก.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2558; 10(1): 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24