การพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ เผ่าพันธ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • มัณฑนา กลมเกลียว โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • วัชรินทร์ ทองสีเหลือง โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ศุภนาถ รัตนดาดาษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่าย, การป้องกันและควบคุมโควิด-19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 และผลลัพธ์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 3 ระยะ คือ 1. ก่อนการพัฒนา 2. พัฒนา 3. หลังการพัฒนา
ผู้ร่วมวิจัย คือ แกนนำสุขภาพในสถานศึกษา ตัวแทนนักศึกษา รวมทั้งสิ้น 365 คน โดยใช้แบบสอบถาม 5 ส่วน และแบบสรุปสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : ระยะก่อนพัฒนาประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ไม่ถูกต้อง ขาดการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรค พฤติกรรมการป้องกันโรคไม่เหมาะสม ขาดมาตรการป้องกันโรค ระยะพัฒนาประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรค พัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรค ออกแบบระบบบริการและมาตรการในการป้องกันโรค หลังการพัฒนามีคะแนนเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรค
การรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคสูงกว่าก่อนการพัฒนา ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูง

สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยความสำเร็จ คือ “RMU สู้ภัยโควิด-19” ประกอบด้วย Risk communication (R) การสื่อสารความเสี่ยง Mutuality (M) การทำงานร่วมกันของทุกคนในชุมชน Unity (U) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยให้ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในป้องกันโรคอื่นได้

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคโควิด-19 มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ 20172802538.pdf.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา [อินเทอร์เน็ต]. [นนทบุรี]: กระทรวงสาธารณสุข; 2565. [เข้าถึง เมื่อ 9 พฤษภาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/ source/090565.pdf

ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคโควิด-19, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์การตอบโต้โรคโค วิด-19. การประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคโควิด-19 จ.มหาสารคาม; 9 พฤษภาคม 2565; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2565.

จินตวีร์ เกษมศุข. การใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2556. 5. วรยุทธ นาคอ้าย, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, และเดชาวรรณพาหุล. กระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคโควิด 19 กรณีศึกษาผู้สูงอายุพฤฒิพลังชุมชนหนองตะโก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 2564;14(3):20-30.

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์, บรรณาธิการ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2564. ประชุมติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 26 ธันวาคม 2564; ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์. มหาสารคาม: ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์; 2564.

Kemmis, S., & McTaggart, R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University; 1988.

บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 (COVID - 19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2564; 3(2):193-206

ณิภารัตน์ ปัญญา, กิจปพน ศรีธานี, มณฑิรา จันทวารีย์ และอดิศักดิ์ พละสาร. ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2564;5(2):183-192.

วิชัย เทียนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;4(2):126-137.

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, และกัลยา ตันสกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(2):31-19.

รัชนี เต็มอุดม, ศิริลักษณ์ ใจช่วง, กนกพร ไทรสุวรรณ์, พเยาวดี แอบไธสง, และบารเมษฐ์ ภิราล้ำ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2564;28(1):1-13.

กาญจนา ปัญญธร, กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, และวรรธนี ครองยุติ. การมีส่วน ร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2564;32(1):189-204.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ปองกันและควบคุมโรคโควิด-19 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดอุดรธานี Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(1):53-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17