ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ลัดดา พลพุทธา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ศตวรรษ อุดรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ณิชพันธุ์ระวี เพ็งพล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปลมา โสบุตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • บุณยดา วงค์พิมล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชนิดาวดี สายืน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมสุขภาพ, ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (Descriptive Correlational Research)กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน123 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและแบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.24, SD=.50) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ ระยะเวลาในการเป็นโรค (r=.802, p-value < .001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน (r=.332,  p-value <.001) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (r=.260, p-value =.004) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตน (r=.275, p-value =.002) และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตน (r=.331, p-value <.001)

สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ได้แก่ ระยะเวลาในการเป็นโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตน และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตน ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ควรส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนโดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว อันจะนำมาซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อไป

References

World Health Organization. Hypertension [Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertensio

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2557. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th/temp_social/data/SocialOutlookQ1-2014.pdf

กรมอนามัย. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุ ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2556

Oliveros E, Patel H, Kyung S, Fugar S, Goldberg A, Madan N, et al. Hypertension in older adults: Assessment, management, and challenges. Clinical cardiology. 2020;43(2):99-107.

Fuchs FD, Whelton PK. High Blood Pressure and Cardiovascular Disease. Hypertension. 2020;75(2):285-92.

Millis TK, Stefanescu A, He J. The global epidemiology of hypertension. Nat Rev Nephrol. 2020;16(4):223-37.

สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย;2558

สุรพันธ์ สืบเนียม และศตวรรษ อุดรศาสตร์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกด้วย ผ้าขาวม้าประกอบเพลงสุขภาพพื้นบ้านต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565;16(3):1-12.

Ministry of Health. Prevalence rate of Hypertension, Roi-Et Province. [Internet]. 2021 [cited 2022 Sept 12]; Available from https://hdcservice.moph. go.th/hdc/main/index.php

Becker MH. The health belief model and sick role behavior. Health Educ Monogr. 1974; 2(4):409-19.

อุไรวรรณ สาสังข์, สุนันทา ครองยุทธ, ยมนา ชนะนิล.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2565;15(1):45-58.

ณรงค์ฤทธิ์ คงสมาน, พยุง พุ่มกลิ่น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานใน สถานประกอบการ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559;23(1):62-75.

Luo X, Liu T, Yuan X, Ge S, Yang J, Li C, et al. Factors influencing self-management in Chinese adults with type 2 diabetes: a systematic review and meta-analysis. Int J Environ Res Publ Health. 2015;12(9):11304-27.

Oo H, Sakunhongsophon S, Terathongkum S. Factors Related to Health Behaviors in Persons with Hypertension, Myanmar. Makara J. Health Res. 2018;22(3):107-14.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, et al. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007;39:175–91.

Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed.. New York: Academic Press; 1977

ชลธิชา จันทคีรี. การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559;24(2):1-13.

ชนาพร ขันธบุตร. พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขศึกษาพล ศึกษาและสันทนาการ. 2564;47(1):232-42.

Becker MH, Rosenstock IM. Compliance with medical advice. In A. Steptoe & A. Matthews, Health care and human behavior. 6th ed. London: Academicpress;1988.

Joho AA. Using the Health Belief Model to Explain the Patient’s Compliance to Anti-hypertensive Treatment in Three District Hospitals-Dar Es Salaam, Tanzania: A Cross Section Study. East Afr J Publ Health. 2021;5(1):50-8.

Wang T, Wang H, Zeng Y, Cai X, Xie L. Health beliefs associated with preventive behaviors against noncommunicable diseases. Patient Educ Counsel.2022;105(2022):173-81.

Azadbakht M, Garmaroudi G, Tanjani TP, Sahaf R, Shojaeijadeh D, Gheisvandi E. Health Promoting Self-Care Behaviors and Its Related Factors in Elderly: Application of Health Belief Model. J Educ Community Health. 2014;1(2):20-9.

Larki A, Reisi M, Tahmasebi R. Factors Predicting Self-Care Behaviors among low health literacy hypertensive patients based on Health Belief Model in Bushehr district, south of Iran. Social Medicine. 2021;14(1):4-12.

ศศิธร ตันติเอกรัตน์, ภัทราวดี มากมี, นิชาภา สุขสงวน, นวพร สัตพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดบุรีรัมย์โดยใช้ทฤษฎี Precede Framework. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2563;15(1):59-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24