ผลของการทำสมาธิบำบัดต่อความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็ง ระยะสุดท้าย

ผู้แต่ง

  • พราวพิมล กิตติวงศ์วิชัย โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

สมาธิบำบัด, ความวิตกกังวล, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการทำสมาธิบำบัดต่อความวิตกกังวล และความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทำสมาธิบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่มารับการรักษาที่งานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาลขอนแก่น  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 26 ราย โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบต่อเนื่อง (Consecutive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความวิตกกังวลในขณะเผชิญ (State-anxiety: Form X-I) ของ Spielberger) แปลเป็นภาษาไทย โดยนิตยา คชภักดี, สายฤดี วรกิจโภคาทร และมาลี นิสัยสุข (2531) 3) แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณของ Paloutzion and Ellison (1982) แปลเป็นภาษาไทยโดยธนิญา น้อยเปียง (2545) และ 4) คู่มือการทำวิทิสาสมาธิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ นำเสนอในรูปแบบค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบ Paired t-test

ผลการวิจัย : พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของกลุ่มตัวอย่างหลังการทำสมาธิบำบัดต่ำกว่าก่อนทำสมาธิบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001; 95%CI  - 22.60 - 28.78) และค่าคะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณของกลุ่มตัวอย่างหลังการทำสมาธิบำบัดสูงกว่าก่อนการทำสมาธิบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
[p < 0.001; 95%CI (-18.01) - (-13.45)]

สรุปผลวิจัย : การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการทำสมาธิบำบัด รูปแบบวิทิสาสมาธิช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ ดังนั้นพยาบาลควรนำรูปแบบวิทิสาสมาธิไปใช้กับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้ายกลุ่มอื่น ทั้งในแผนกผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยใน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างครอบคลุมเป็นองค์รวม  

References

World Health Organization. Palliative care: Cancer control:Knowledgeintoaction. WHO guide for Effective Programmers. 2014. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 Available from http://www.who. int/cancer/publications/cancer_control_palliative/en/ index.html.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. สถิติโรคมะเร็งของประเทศไทย.2021. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565, จาก www.

Nci.go.th/statisti.htm.

โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น สรุปรายงานมะเร็งประจำปี. ขอนแก่น: โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น; 2564.

อภิชัย ลีละสิริ. การดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย. เวชสารแพทย์ทหารบก.2554. 64(2): 97-102.

กิตติกร นิลมานัต. การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์ ; 2555.

วงจันทร์ เพชรพิเชษฐเชียร.การพยาบาลที่เป็นเลิศ ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2554.

กิตติกร นิลมานัต และวราภรณ์ คงสุวรรณ. ปรากฏการณ ์ที่พบบ่อยในระยะสุดท้ายของชีวิต และการดูแล. สงขลา: บริษัทจอยพรินท์จำกัด; 2556.

กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊.ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบ อานาปานสติที่มีต่อความเครียดของ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรการกีฬา] กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

วิริยังค์ สิรินธโร. พื้นฐานการทำสมาธิ. บริษัทประชาชน จำกัด .กรุงเทพฯ; 2549.

ขนิษฐา นาคะ. ความวิตกกังวลและความต้องการข้อมูลในผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ;2534.

นิตยา คชภักดี, สายฤดีวรกิจโภคาทรและมาลี นิสสัยสุข. แบบประเมินความวิตกกังวล. กรุงเทพมหานคร;2531.

ธนิญา น้อยเปียง.การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม.[วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่] เชียงใหม่; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,2545.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. สมาธิกับการเยียวยาทางการพยาบาล วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี สงขลา.

9(3): 3 – 14.

Zeidan, F., Martucci, K. T., Kraft, R. A., McHaffie, J. G., & Coghill, R. C. (2014). Neural correlates of mindfulness meditation-related anxiety relief. Social cognitive and 87 affective neuroscience. 2014. 9(6) :751-759.

Zeidan, F., Baumgartner, J. N., & Coghill, R. C. The neural mechanisms of mindfulness-

based pain relief: a functional magnetic resonance imaging-based review and

primer.Pain reports. 2019; 4(4): e759

ประเวศ วะสี. สุขภาวะทางจิตวิญญาณ. หมอชาวบ้าน, 2543 ,22(261): 41-45.

Mary Elizabert O’Brien, M.E. Spiritual in Nursing: Standing On holy ground. 3rd edition.

Massachusetts : Jones and Bartlett Publishers.2008.

ศรีรัตน์ กินาวงศ์ และปุญญณิน เชื่อมเพ็ชร์.ความผาสุกด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย. เชียงรายเวชสาร. 2559; 8(1):131-137.

กาญจนา สังข์สิงห์. ประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็ง ในการบำบัดเยียวยาด้วยสมาธิ.[วิทยานิพนธ์ ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ พยาบาลผู้ใหญ่] สงขลา; มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์; 2548.

วิไลลักษณ์ ตันติตระกูล.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะ

สุดท้าย.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

ทัศนีย์ ทองประทีป. กิจกรรมการพยาบาลมิติจิตวิญญาณ.วารสารสภาการพยาบาล ;2543. 15(3): 55-64.

สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี.การปฏิบัติสมาธิเพื่อเยียวยาสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ.

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล,2007.

พรทิพย์ ปุกหุต. ผลของการสวดมนต์บำบัดต่อความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วย

มะเร็งเต้านม ระยะรับการรักษา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล

ผู้ใหญ่] ขอนแก่น; บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น,2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24