ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นวลนิตย์ บุตรดีสุวรรณ -

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเอง, การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, คราบจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง 
ความคาดหวังต่อผลลัพธ์การปฏิบัติ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และดัชนีคราบจุลินทรีย์

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) ซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ( Self-Efficacy Theory) ของผู้สูงอายุในกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ
30 คน รวม 60 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เน้นฝึกทักษะการแปรงฟันถูกวิธีอย่างน้อย 2 นาทีโดยมีทีมวิจัยเป็นพี่เลี้ยง
ทำแบบสอบถามและตรวจสุขภาพช่องปาก จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง  ความคาดหวังต่อผลลัพธ์การปฏิบัติ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ดัชนีคราบจุลินทรีย์ของผู้สูงอายุด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังต่อผลลัพธ์การปฏิบัติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ก่อนทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยดัชนีคราบจุลินทรีย์ลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติ (p-value<0.05)

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการลดคราบจุลินทรีย์ของผู้สูงอายุได้

References

ธัญวรัตน์ แจ่มใส. นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสาร มจร

การพัฒนาสังคม. 2564;6(3):1-12.

อรวรรณ นามมนตรี, กานต์ชนก สมใจ, อสมาภรณ์ บุญข่าย, เสาวนีย์ บุพตา. คุณภาพชีวิตใน

มิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

วารสารทันตาภิบาล. 2565;33(1):16-27.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย.

กระทรวงสาธารณสุข: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

ไพสิฐ ภิโรกาศ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลทาง

ทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.

ไพสิฐ ภิโรกาศ, อรวรรณ กีรติสิโรจน์. ผลของโปรแกรมประยุกต์ความสามารถของตนเองต่อ

พฤติกรรมการดูแลทางทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอลับแล

จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสุขศึกษา. 2562;42(2):110-122.

วัชลาวลี เกตุดี, วุฒิชัย จริยา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเอง

ในการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุ และพฤติกรรม

การป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2563;14(3):175-191.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8

ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์; 2561.

อักษร พึ่งวิรวัฒน์. ความรู้และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณช่องปากและใบหน้า

ที่มีสาเหตุจากฟันในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นเบาหวาน [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต].

สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.

พรรณราย เขียวไสว, ศุภชัย สุทธิมัณฑนกุล. ช่องพังผืดของศีรษะและการติดเชื้อ เอ็นโดสาร.

;15(1):4-12.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนและสัดส่วนประชากรจากการทะเบียนจำแนกตามกลุ่มอายุ

(วัยเด็ก วัยแรงงาน วัยสูงอายุ) เพศ ภาค และจังหวัด พ.ศ.2555-2564. [อินเตอร์เน็ต].

(ม.ป.ท.): [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2565. กลุ่มรายงาน

มาตรฐาน ส่งเสริมป้องกัน การคัดกรอง จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำแนกตาม

ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน. [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฏาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก :

https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/

Health Data Center[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2565. กลุ่มรายงาน

มาตรฐาน ข้อมูลเพื่อตอบสนอง service plan สาขาสุขภาพช่องปาก. [เข้าถึงเมื่อ 30

สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/

ภาสิต ศิริเทศ, ณพวิทย์ ธรรมสีหา. ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรม

การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562;20(2):58-65.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2562.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติ

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

พลอยไพลิน อเนกแสน, กนกกาญจน์ ราชชมภู. ผลของโปรแกรมคุณภาพชีวิตในช่องปาก

ด้วยการเรียนรู้การสนทนากลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขต

เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ [รายงานวิจัยหลักสูตร

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข]. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุข

สิรินธร; 2562.

เกศสุดา เงินประเสริฐศิริ. การใช้ปองโซ 4 อาร์เป็นสารย้อมติดสีคราบจุลินทรีย์ [วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.

ขวัญเรือน ชัยนันท์, สุรีย์ จันทรโมลี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, มยุนา ศรีสุภนันต์. การพัฒนา

รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี.

วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):91-107.

Paula, C. The Impact of Motivational Interviewing in Reducing Plaque and

Bleeding Indices on Probing in Adult Users of the Family Health Strategy.

Brazilian Research in Pediatric Dentistry and Integrated Clinic. 2015;15(1):183-196.

เปรมฤดี ศรีสังข์, นุชวรา ดอนเกิด. ผลของการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคม

ต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุ่งคล้า

จังหวัดบึงกาฬ. วารสารทันตาภิบาล. 2562;30(2):107-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24