การสอบสวนโรคกรณีการระบาดแบบเป็นกลุ่มก้อนของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอเมืองมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุรสิทธิ์ ศรีวิรัตน์ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ณัฐจิรา อัปปะมะโน โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กลุ่มก้อน, มหาสารคาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อยืนยันการระบาดและการวินิจฉัยของโรคตาม บุคคล เวลา สถานที่ ค้นหาปัจจัยเสี่ยงและแนวทางการควบคุมป้องกันโรค

วิธีการศึกษา : ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา การสัมภาษณ์ผู้ป่วย ผู้สัมผัสใกล้ชิด และเจ้าหน้าสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเพิ่มเติม การทบทวนบันทึกเวชระเบียน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาสภาพแวดล้อมของร้านอาหารรวมทั้งทบทวนมาตรการในการคัดกรองของผู้ที่มารับบริการในร้านอาหาร

ผลการศึกษา : พบการระบาดในกลุ่มนักธุรกิจ คหบดีและครอบครัว จำนวน 22 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 12 ราย เพศหญิง 10 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1.2:1 ผู้ป่วยอายุน้อยที่สุด 4 เดือน อายุมากที่สุด 72 ปี ค่ามัธยฐานอายุ คือ 54 ปี อาชีพที่พบสูงสุด ได้แก่ ค้าขาย จำนวน 19 ราย (86.36%) ในจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 22 รายนั้น พบผู้แสดงอาการเจ็บป่วย 15 ราย ผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ 4 ราย และไม่มีข้อมูล 3 ราย (ผู้ป่วย จ.ราชบุรี) จากการค้นหา ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 พบจำนวน 324 ราย กลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวน 4,016 ราย โดยการระบาดครั้งนี้เป็น การระบาดที่มาจากนอกพื้นที่ มีความเป็นไปได้ว่าแหล่งโรคที่แท้จริงนั้นอาจแอบแฝงอยู่ภายในจังหวัด โดยมีวงรับประทานอาหารของกลุ่มแชร์เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ช่วยให้เกิดการแพร่กระจายของโรคออกไปในวงกว้าง จึงได้ให้คำแนะนำปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด

สรุปผลการศึกษา : พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 22 ราย การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดที่มาจากนอกพื้นที่และแพร่กระจายต่อในพื้นที่ ส่วนแหล่งโรคนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการรับประทานอาหารร่วมกันที่ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคออกไปในวงกว้าง ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด

References

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดมหาสารคาม. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 2/2563 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เรื่อง มาตรการควบคุมหลักและมาตรการเสริมของมาตรการป้องกันโรคของทางราชการกำหนดตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดมหาสารคาม; 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564] เข้าถึงได้จาก: http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/610/3625-covid-19.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดมหาสารคาม. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 18/2563 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จังหวัดมหาสารคาม; 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564] เข้าถึงได้จาก: http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/610/3625-covid-19.

คณะกรรมการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลมหาสารคาม. ตามคำสั่งโรงพยาบาลมหาสารคาม ที่ 108/2562 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขของเครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม; 2562.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคัดกรอง เฝ้าระวัง และสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019) สำหรับการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และการสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19); 2564. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_041263.pdf.

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2542.

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, สุทธนันท์ สุทธชนะ, ศุภณัฐ วงศานุพัทธ์. การสอบสวนโรคในภาวะการระบาดของ Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ดำเนินการอย่างไร กรณีศึกษาจากผู้ป่วย COVID-19 รายแรกจากยุโรปในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2563;14(4):377-86.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. ฉบับวันที่ 3 มกราคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24