กระบวนการการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง: กรณีศึกษาหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จีรพร อินนอก

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง, กระบวนการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาบาดเจ็บที่สมอง

รูปแบบและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษากระบวนการให้การพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ กรณีศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ และการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล ประเมินและสรุปผล                                                        

ผลการศึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง 2 ราย กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทยอายุ 35 ปี มาด้วยขับรถจักรยานยนต์ชนรถกระบะ หมดสติได้รับบาดเจ็บที่สมองรุนแรง มีเลือดออกนอกเยื่อดูราและใต้เยื่อดูรา แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจและรักษาโดยการผ่าตัดสมองเพื่อนำเลือดออกและลดความดันในกะโหลกศีรษะ หลังผ่าตัดได้รับการพยาบาลระยะวิกฤต การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการวางแผนจำหน่ายโดยสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทยอายุ 17 ปี มาด้วยขับรถจักรยานยนต์ลงคลอง หมดสติ ได้รับบาดเจ็บที่สมองรุนแรงมีเลือดออกในสมอง แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจและรักษาโดยการผ่าตัดสมองเพื่อนำเลือดออก หลังผ่าตัดได้รับการพยาบาลระยะวิกฤต การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยมีภาวะ แทรกซ้อนติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมจนอาการดีขึ้น ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยสหสาขาวิชาชีพ และสามารถส่งกลับไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลชุมชนได้

สรุปผลการศึกษา : เป้าหมายของการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง คือ การป้องกันการบาดเจ็บสมองชนิดทุติย ภูมิ (secondary injury)  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร่างกายหลงเหลือความพิการน้อยที่สุด และไม่เสียชีวิตการวินิจฉัย การรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง รวดเร็ว การป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการวางแผนจำหน่ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดี และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย                      

References

นครชัย เผื่อนปฐม, ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinical practice guidelines for traumatic brain injury). [อินเตอร์เนท]. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส

จำกัด;2562. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.neurosurgerycmu.com/files/2019/12/GPGfinal-2562-compressed.pdf

World Health Organization. World health statistics 2019: Monitoring health for the SDGs [Internet]. Switzerland ; 2019 [cited 2021 jul 9]. Available from: https://reliefweb.int/report/world/world-health-statistics-2019-monitoring-health-sdgs?gclid=Cj0KCQiA54KfBhCKARIsAJzSrdr7ahHnJI0MyzsN0VlhuiRbyJS13kMXhE1Wxwdp4lcpQ9w-xNGVn5gaAjlmEALw_wcB 3. กระทรวงสาธารณสุข. Health KPI. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2564]. สืบค้นจาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id= 19&kpi_year=2560.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรสำนักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์ สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เนท].กรุงเทพฯ: 2563. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.otp.go.th/ uploads/tiny_uploads/PDF/2563-06/25630601-RoadAccidentAna2562_Final.pdf

ไสว นรสาร. บาดเจ็บศีรษะ. ใน: ไสว นรสาร, พีรญา ไสไหม, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้บาดเจ็บ: Trauma Nursing. นนทบุรี: บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2559. น. 101-155

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง :มิติของการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสภาการพยาบาล.เม.ย.2561; 33(2):15-28.

Fan JY. Effect of backrest position on intracranial pressure and cerebral perfusion pressure in individuals with brain injury: a systematic review. J NeurosciNurs. 2004 Oct;36(5):278-88. doi: 10.1097/01376517-200410000-00007. PMID: 15524246

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานประจำปีโรงพยาบาลมหาสารคาม; 2562-2564.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปตัวชี้วัดเกณฑ์และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาสารคามประจำปี 2564. มหาสารคาม;2564.

HerdmanT.H, Kamitsuru S, Lopes C, editors. NANDA International, Inc. Nursing Diagnoses Definitions and Classification 2021–2023. Twelfth Edition. New York: Marquis; 2021.

Hawryluk GW, Rubiano A M , Totten AM, Reilly CO, Ullman JS, Bratton SL, et al. Guidelines for the management of severe traumatic brain injury: 2020 update of the decompressive craniectomy recommendations. Neurosurgery, 2020, Sep; 87(3): 427–434. PMID: 32761068

สมคิด รูปงาม, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, อรพรรณ โตสิงห์, จตุพร ศิริกุล.ปัจจัยทํานายการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ.วารสารสภาการพยาบาล. 2563; 35(1) 99-117. อ้างจาก Toft P, Tønnesen E. The systemic inflammatory response to anaesthesia and surgery. Current Anaesthesia& Critical Care. 2008;19(5):349-53.

วิจิตรา กุสุมภ์,บรรณาธิการ. Nursing Process and Nursing Diagnosis Application to Clinical Practice (กระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาล: และการนำไปใช้ในคลินิก). ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์; 2556.

อุษา พงษ์เลาหพันธุ์,ศุภร วงศ์วทัญญ, กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์. กิจกรรมพยาบาลและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2552; 15(2)221-232.

กนกวรรณ สว่างศรี. การจัดการความปวดในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 2017; 28(1): 2-15.

พิมาภรณ์ อรรคแสง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ กรณีศึกษา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564; 18(1): 106-121.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติเพื่อป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24