ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนแบบออนไลน์ ต่อความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงสถานการณ์ระบาดโควิด-19
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะ, การดูแลสุขภาพชุมชนแบบออนไลน์, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนแบบออนไลน์ต่อความรู้ของ อสม. ในช่วงสถานการณ์ระบาดโควิด-19
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ศึกษาในกลุ่ม อสม. เขตตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความรู้ของ อสม.ก่อน-หลัง การเข้าร่วมโปรแกรมฯ จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบกลุ่มเดียวโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการวิจัย : คะแนนเฉลี่ยของความรู้ของ อสม. หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ( =25.70, SD=1.73) มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ ( =11.85, SD=1.89) และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001
สรุปผลการศึกษา : การอบรมให้ความรู้แก่ อสม. แบบออนไลน์สามารถส่งเสริมความรู้แก่ อสม. ในชุมชนได้ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ดังนั้นการอบรมให้ความรู้แบบออนไลน์เป็นอีกทางเลือกในการบริการวิชาการแก่ชุมชน
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554). กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี; 2549.
นภาพร ลิ้มฮกไล้, โยทะกา ภคพงศ์ และปรีย์กมล รัชนกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. พยาบาลสาร 2558; 42(3): 106-118.
Department of Health Service Support. New Guidebook. Bangkok: the Agricultural Cooperative federation of Thailand; 2011.
นิภาภัทร อยู่พุ่ม. นวัตกรรมการพยาบาลสุขภาพจิตชุมชนเพื่อสร้างสังคมปลอดยาเสพติดตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2560; 5(ฉบับพิเศษ): 348-362.
ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน [อินเตอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563] ค้นได้จาก https://www.thaiphc.net/new2020/ cremation/
district?year=2562&province=32.
อิทธิศักดิ์ นันทิเดชาพันธ์. หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์. สุรินทร์: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์; 2561.
ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, สายสุดา จันหัวนา, วชิรศักดิ์ อภิพัฒฐ์กานต์, ธรณิศ สายวัฒน์และอมรรัตน์ อัครเศรษสกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37(3): 109-120.
กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ และประจวบ แหลมหลัก. ผลโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2561; 12(1): 275-291.
กุลชญา ลอยหา, เด่นดวงดี ศรีสุระ, มณฑิชา รักศิลป์, ชนฏ์พงศ์ เคลือศิริ, ภัทรภร เจริญบุตร, รมณียากร มูลสิน, และคนอื่นๆ. การเสริมสร้างศักยภาพบทบาทของนักจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานป้องกัน
ควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 24(1): 1-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม