การประยุกต์ใช้ทฤษฎีระยะท้ายของชีวิตที่สงบในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • กานต์รวี โบราณมูล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง, ทฤษฎีระยะท้ายของชีวิตที่สงบ

บทคัดย่อ

          โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและไทย มีแนวโน้มจะมีผู้ป่วยรายใหม่และมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อโรครุนแรงมากขึ้นจนเข้าสู่มะเร็งระยะท้าย ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองครอบคลุมทั้งปัญหาด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงเวลาที่เหลืออยู่
ลดความทุกข์ทรมาน ให้จากไปโดยสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การดูแลแบบประคับประคองโดยการนำทฤษฎีทางการพยาบาลมาใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ทำให้บทบาทของพยาบาลชัดขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประยุกต์ทฤษฎีระยะท้ายของชีวิตที่สงบมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ครอบคลุม 5 ด้าน ตามทฤษฎี คือ การไม่อยู่ในความเจ็บปวด การมีประสบการณ์ของความสุขสบาย การมีประสบการณ์ของความมีศักดิ์ศรี การอยู่ในความสงบและการมีความใกล้ชิดกับญาติมิตรและบุคคลที่รักและผูกพัน กรณีศึกษาเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ได้รับความทุกข์ทรมานต่างๆ จากโรคทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งผลการดูแลช่วยทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะสุดท้ายของโรค
ความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานต่างๆ ลดลง และจากไปด้วยความสงบอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

References

J. Ferlay, M. Colombet, I. Soerjomataram, C. Mathers, D.M. Parkin, Piñeros M, et al. Estimating the global cancer incidence and mortality in 2018: GLOBOCAN sources and methods. Int J Cancer. 2019 Apr 15;144(8):1941–53.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สําคัญพ.ศ. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// spd.moph.go.th/wp content/uploads/ 2023/05/ statistical-2564.pdf.

Lindsey A. Torre, Freddie Bray, Rebecca L. Siegel, Jacques Ferlay, Joannie Lortet- Tieulent, Ahmedin Jemal. Global cancer statistics, 2012: Global Cancer Statistics, 2012. CA Cancer J Clin. 2015 Mar;65(2):87–108.

Paice, J. A., & Fine, P. G. . Pain at the end of life. In B. R. Ferell & N. Coyle , editor. Textbook of palliative nursing. 2nd ed. New York: Oxford;2006.131-154

วาสินี วิเศษฤทธิ์. การสื่อสารและการให้การปรึกษาผู้ป่วยในระยะสุดท้ายและครอบครัว. ใน: ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, บรรณาธิการ. คู่มือการพยาบาลแบบประคับประคองแบบพกพา. เชียงใหม่: Good Work Media;2559. หน้า 27-38.

อภิชัย ลีละศิริ. การดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2554;64(2):97-102.

อรนุช มกราภิรมย์และอันธิกา คะระวานิช. ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายต่อการ รับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาลวิชาชีพและการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์รวม. วารสารศูนย์ การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558;32(4):348-363.

World Health Organization. Palliative care. [Internet]. 2016 [cited 2021 April 20]. Available from: https://www.who.int/health-topics/palliative-care

World Health Organization. Palliative care. [Internet]. 2015 [cited 2021 April 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข. แผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหง ประเทศไทย จํากัด; 2556.

Ruland, C.M. & Moore,S.M. Theory Construction Based on Standards of Care: A Proposed Theory of the Peaceful End of Life. Nursing Outlook. 1998;46(4):169-175.

วราภรณ์ คงสุวรรณ. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติในระยะท้ายของชีวิตที่ใช้เทคโนโลยี. สงขลา: ชานเมือง การพิมพ์; 2558.

Jimmie P. Leleszi, Jeanne G. Lewandowski. Pain management in end-of-life care. J Am Osteopath Assoc. 2005 Mar;105(3 Suppl 1):S6-11.

Joao Paulo Solano, Barbara Gomes, Irene J. Higginson. A Comparison of Symptom Prevalence in Far Advanced Cancer, AIDS, Heart Disease, Chronic Obstructive Pulmonary Disease and Renal Disease. J Pain Symptom Manage. 2006 Jan;31(1):58–69.

สมพร ปานผดุง. ผลของโปรแกรมการพยาบาลประยุกต์ใช้หลักของพุทธธรรมต่อความผาสุกทางจิต วิญญาณของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยทางนรีเวชระยะลุกลามในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์ และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ของโรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556;23(1):80-90.

บุษยามาส ชีวสกุลยงและลดารัตน์ สาภินันท์. แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบ ประคับประคองวัยผู้ใหญ่ฉบับสวนดอก (Palliative Performance Scale for Adult Suandok) (PPS Adult Suandok). ใน: บุษยามาส ชีวสกุลยง, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง Palliative care. เชียงใหม่:กลางเวียงการพิมพ์; 2556.หน้า 35 - 45.

ดาริน จตุรภัทรพรและคณะ. ESAS (Edmonton Symptom Assessment System) ฉบับ ภาษาไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [ เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 20]. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol. ac.th/fammed/sites/default/files/public/ /pdf/3OverviewFM.pdf

ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์; 2557.

นงเยาว์ มงคลอิทธิเวช. การจัดการอาการปวดแบบผสมผสานจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ใน: บุษยามาส ชีวสกุลยง, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง Palliative care.เชียงใหม่: กลางเวียง การพิมพ์; 2556. หน้า 283–287.

Pokpalagon, P. et al.Comparison of care strategies and quality of life of advanced cancer patients from four different palliative care settings.Pacific Rim Int J Nurs Res. 2012;16(4):326-342.

Bausewein, C. et al Nonpharmacological interventions for breathlessnessin advanced stages of malignant and non-malignant diseases (review) [Internet]. 2013. [cited 2021 April 20]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih. gov/pmc/articles/PMC6564079/.

Paolo Mazzotta, Christa M. Jeney. Anorexia-Cachexia Syndrome: A Systematic Review of the Role of Dietary Polyunsaturated Fatty Acids in the Management of Symptoms, Survival, and Quality of Life. J Pain Symptom Manage. 2009 Jun;37(6):1069–77.

Chittawatanarat, K. Health Intervention and Technology Assessment Program. Policy Brief. 2017;4(39):1-4.

Nancy S. Redeker, Andrea K. Knies, Christopher Hollenbeak, H. Klar Yaggi, John Cline, Andrews L, et al. Cognitive behavioral therapy for insomnia in stable heart failure: Protocol for a randomized controlled trial. Contemp Clin Trials. 2017 Apr;55:16–23.

จิณพิชญ์ชา มะมม. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการออกกําลังกายต่ออาการเหนื่อยล้าใน ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบําบัด.ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2555;12(1):61-69.

กรมการแพทย์. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2557.

สุวคนธ์ กุรัตน์ และคณะ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย: มิติใหม่ที่ท้าทายบทบาทของพยาบาล. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม; 2556.

โรงพยาบาลสงฆ์. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาแบบประคับประคอง. กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์; 2551.

พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว, เยาวรัตน์ มัชฌิมและหทัยวรรณ รัตนบรรเจิดกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลระยะ ท้ายต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองและการรับรู้ระยะท้ายของชีวิตที่สงบในผู้ป่วยมะเร็งระยะ ท้าย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562;21(2):315-323.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17