ปัจจัยทำนายการได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำล่าช้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • วศิน รัตนวิชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณิชาภัตร พุฒิคามิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำล่าช้า, โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, ปัจจัยทำนาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยทำนายการได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำล่าช้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน

รูปแบบและวิธีวิจัย : ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลทั้งในและต่างประเทศที่ตีพิมพ์ผลงานการศึกษาฉบับเต็มและใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ และตีพิมพ์ระหว่างปี 2554-2564

ผลการศึกษา : ผลการทบทวนวรรณกรรมพบงานวิจัยทั้งหมด 382 บทความจากฐานข้อมูล มีเพียง 7 บทความ ที่สามารถนำมาสกัดข้อมูลเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ พบว่า ปัจจัยทำนายการได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำล่าช้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ได้แก่ อายุ ค่าคะแนน National Institute of Health Stroke Scale ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีนำส่งโรงพยาบาล ระบบแจ้งเตือนก่อนถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนถึงโรงพยาบาล การคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การตรวจเอกซเรย์สมอง การรักษาภาวะอื่นก่อนการได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ระยะเวลาหลังตรวจเสร็จถึงเวลาได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือด ระบบการแพทย์ทางไกล หน่วยรักษาโรคหลอดเลือดสมองเคลื่อนที่  โปรแกรมการฝึกอบรมและการฝึกทักษะ และกระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน

สรุปผลการศึกษา : แม้ผลการศึกษาปัจจัยทำนายการได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำล่าช้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันในบางปัจจัยยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน แต่หากสามารถทำให้กระบวนการบริการในห้องฉุกเฉินเป็นไปอย่างรวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำเร็วขึ้น

References

Saini V, Guada L, Yavagal DR. Global epidemiology of stroke and assess to acute ischemic stroke interventions. American academy of neurology 2021;97(1):s6-s16.

ตวงทิพย์ บินไทยสงค์. การนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันส่งโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2558;6(2):275-282.

Heiss W. The pathophysiology of ischemic stroke studied by radionuclide imaging. Journal of neurological and nuromedicine. 2016;1(8):22-28.

Campbell BCV, De Silva DA, Macleod MR, Coutts SB, Schwamm LH, Davis SM,

et al. Ischemic stroke [Internet]. 2019 [Cited 2019 Nov 29]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31601801/

Mir MA, Al-Baradie RS, Alhussainawi MD. Pathophysiology of stroke. 1st ed. USA: NOVA Science; 2014

Kummer RV. Time is brain fact or fiction. American Heart Association 2019;50(3):552-553.

Lyden PD. Thrombolytic therapy for acute ischemic stroke a very great honor. American Heart Association. 2019;50(9):2597-2603.

วิภาพร ตรีสุทรรศน์. ผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาละลาย

ลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลสิงห์บุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 2563;29(2):13-25.

ทัศนีย์ จินตกานนต์. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2562;38(2):31-41.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตัน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พฤศจิกายน 26], เข้าถึงได้จาก https://ucinfo.nhso.go.th/ucinfo/Rpt-stroke

อุไร คำมาก, ศิริอร สินธุ. ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือดต่อการฟื้นตัวด้านระบบประสาทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16(2):106-113.

Chai E, Li C, Jiang L. Factors affecting in-hospital delay of intravenous thrombolysis for acute ischemic stroke a retrospective cohort study. Medicine 2019;98(19):1-4.

Mikulík R, Kadlecová P, Czlonkowska A, Kobayashi A, Brozman M, Švigelj V, et al. Factors influencing in-hospital delay in treatment with intravenous thrombolysis. American Heart Association. 2012;43(6):1578-1583.

Schaik SM, Scott S, Lau LML, Berg-Vos RMVD, Kruyt ND. Short door to needle time in acute ischemic stroke and prospective identification of its delays factors. Karger 2015;5:75-83.

ทิพย์มาศ พบสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2563;45(3):191-198.

Huang Q, Zhang J, Xu W, Wu J. Generalization of the right acute stroke promotive strategies in reducing delays of intravenous thrombolysis for acute ischemic stroke A meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2018;97(25):1-13.

Salottolo KM, Fanale CV, Leonard KA, Frei DF, Bar-Or D. Multimodal imaging does not delay intravenous thrombolytic therapy in acute stroke. American Journal of Neuroradiology. 2011;32(5):864-868.

Srisang N. Time intervals and in-hospital delay in thrombolysis administration in acute ischemic stroke. The Clinical Academia. 2019;43(2):36-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17