ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต

ผู้แต่ง

  • ชวมัย ปินะเก โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต, อัตราการกรองของไต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไตที่คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีการศึกษา : รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quai-experimental research) แบบ two group pretest-posttest design ใช้แนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์และกาลิคบายส์ ประกอบด้วย 1) การติดตามตนเอง 2) การประเมินตนเอง 3) การเสริมแรงตนเองกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 64 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน กลุ่มควบคุม 32 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง 2) สมุดประจำตัวผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Relative Risk

ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยที่ใช้โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง มีอัตราการกรองของไต ลดลง < 5 cc/min/1.73m2 /ปี ร้อยละ 96.87 มีอุบัติการณ์เกิดภาวะไตลดลงอย่างรวดเร็วเป็น 0.04 เท่าของกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยทางสถิติค่า P value <0.001

สรุปผลศึกษา : โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไตเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต

References

IngsathitA,ThakkinstianA, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K;

the Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the

Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010 ;25:1567-75.

Health Data Center. กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน Service Plan สาขาไต 2561. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.

go.th/hdc/reports/page. php?cat_id=e71a73a77b1474eb3b71bccf727009ce.

วินัย ลีสมิทธิ์. คลองขลุงโมเดล ชะลอความเสื่อมของไตได้ถึง 7 ปี. คร สัมพันธ์ กพ.-มีค. 2559; 3(3):2–3.

ชวมัย ปินะเก, อมฤต สุวัฒนศิลป์,วรรณพร คงอุ่น,นิธิยา นามวงศ์,สุคนทิพย์ เรียงริลา.พัฒนา

โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต.วารสารโรงพยาบาล

มหาสารคาม. 2563;17(3):67-75.

สหรัฐ หมื่นแก้วคราม. ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) . ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

Kanfer, F. H., &Gaelick-Buys. Self-management methods. In F. H. Kanfer& A. P. Goldstein (Eds.). Helping people change: A textbook of methods. New York :Pergamon Press; 1991. 305–60.

ไพศาล ไตรสิริโชค, หลั่งพร อุตรศาสตร์, วราทิพย์ แก่นการ. ผลของการสนับสนุนการจัดการ

ตนเองโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลศูนย์

ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562; 34(6): 552-8.

ผ่องใส เวียงนนท์. การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. (การศึกษา

อิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

นิรมล สบายสุข, ปิ่นฤทัย ศุภเมธาพร และณิชกานต์ ทรงไทย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง

ต่อพฤติกรรมสุขภาพและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรัง

ระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.2561; ฉบับพิเศษ: 147-149

Wen-weiOyang, Hui-fenChen, Xue-yiXu, Xien-long Zhang, Li-zhe Fu, Fang Tang, et

al. Self-Management program for patients with chronic kidney disease

(SMP-CKD) in Southern China: protocol for an ambispective cohort study.

BMC Nephrology. 2022;23:1-11

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24