ผลการตรวจคัดกรองและความชุกของมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่มารับการตรวจในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เทพอุทิศ กั้วสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อุมาภรณ์ กั้วสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ดวงธิดา ช่างย้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรอง, ความชุก, โรคมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและความชุกของมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่มารับการตรวจในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear ที่แผนกสูติ-นรีเวชเวชกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 1,105 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มรายงานผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 98.1) ผลปกติไม่พบเซลล์มะเร็ง โดยผลที่ปกติเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 92.1) มีการตรวจพบ Organism รองลงมา คือ Inflammation (ร้อยละ 3.1) และ Atrophy (ร้อยละ 0.5 ) ส่วนความชุกของเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติพบจำนวน 20 ราย (ร้อยละ 1.9) ความผิดปกติที่พบมากที่สุด คือ HSIL (CIN II) จำนวน 14 ราย (ร้อยละ1.3) รองลงมา คือ  LSIL (HPV), ASC-US จำนวนอย่างละ 3 ราย (ร้อยละ 0.3) โดยกลุ่มอายุที่มีผลตรวจผิดปกติมากที่สุดเป็นกลุ่มอายุ 41-50 ปี จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 40) รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 61-70 ปี จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 25)

สรุปผลการศึกษา : ความชุกของเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติทั้งหมดเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็งพบมากในกลุ่มอายุ 41-50 ปี ดังนั้น บุคลากรด้านสุขภาพควรมีการรณรงค์ให้สตรีในกลุ่มอายุ 41-50 ปีเห็นความสำคัญของการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปีตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก  

References

World Health Organization. Cervical cancer [Internet]. 2020 [cited 2023 March 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cervical-cancer

Rojanamatin J, Ukranun W, Supaattagorn P, chiawiriyabunya I, Wongsena M, Chaiwerawattana A, et al. Cancer in Thailand Volume X, 2016-2018. Bangkok; 2021.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560 Public Health Statistics A.D. 2017. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic60.pdf

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ทะเบียนมะเร็งจังหวัดกาฬสินธุ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://203.157.186.27/cancer_base/tp.php

จรัสศรี อินทรสมหวัง, กาญจนา ศรีสวัสด์. สมรรถนะของพยาบาลในการดูแลสตรีมะเร็งปากมดลูก. วารสารเกษมบัณฑิต. 2562;20(1):146-154.

อมรรัตน์ เต็มธนะกิจไพศาล. อวสานมะเร็งปากมดลูก. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558;30(5):7-9.

วิชุดา จิรพรเจริญ, สิทธิชา สิริอารีย์, สิริบูรณ์ ยาวิชัย, นิดา เหลี่ยววิริยกิจ, ศิรินภา นันทพงษ์, อุไรวรรณ จุมปามัญ. ความชุกของมะเร็งปากมดลูกและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2552;5(2):161- 169.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์; 2561.

AbdAllah AAA, Hummeida ME, Elmula IMF. Awareness and Attitudes of Nursing Students towards Prevention of Cervical Cancer. Gynecol Obstet (Sunnyvale). 2015; 5(107):2161-0932.

เนตรชนก ไวโสภา.ความชุกการเกิดมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2564;2(1):113-122 .

กีรติยา พิทยะปรีชากุล, กวีวัชร์ ตันติเศรณี, ปิยะพงษ์ ศรีสวัสดิ์, เบญจมาส มั่นอยู่. ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกและการเปรียบเทียบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดย 2 วิธี. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2565;4(2):87-94.

Sarwar A, Suri J, Ali M, Sharma V. Novel benchmark database of digitized and calibrated cervical cells for artificial intelligence based screening of cervical cancer. Journal of Ambient Intelligence and Humanized Computing. 2016;7(1):593-606.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (2561-2565) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/File_download/ D_index/แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ.pdf

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์. อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดกาฬสินธุ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcksn.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&c at_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=4eab25b045dc0a9453d85c98dc2fdef0

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์. อัตราป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกต่อประชากร เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดกาฬสินธุ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcksn.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id =6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=f3a9cabcd1b83af2ad8d8db6d9b6735c

พรทิพย์ ชีวะพัฒน์, กฤษณา พูลเพิ่ม. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก: สถานการณ์ปัจจุบันและบทบาทพยาบาล (HPV Vaccine: Current Situation and Nurses’ Roles). วารสารพยาบาลสภากาชาด ไทย. 2563;13(1):39-49.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมมะเร็งปากมดลูกที่ครอบคลุม: แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ (Comprehensive Cervical Cancer Control: A guide to essential practice) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94 /m_magazine /33336/1006/file_download/fa30505ac8be02ce3aa10a5edd41cb1b.pdf

พรไพโรจน์ มิตรปราสาท. ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกติ ในจังหวัดสุรินทร์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2546;18(1):3-12.

วารุณี วังชัย, รัชนีวรรณ จันทร์สว่าง, ปาจรีย์ วรรโณทัย. ศึกษาผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มารับบริการตรวจสุขภาพ ค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก ณ งานพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทางโรคมะเร็ง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกปีงบประมาณ 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lpch.go.th/km/uploads/201701251424 53800508.pdf

Sangrajrang S, Laowahutanont P, Wongsena M, Muwonge R, Karalak A, Imsamran W, et al. Comparative Accuracy of Pap Smear and HPV Screening in Ubon Ratchathani in Thailand. Papillomavirus Research (Amsterdam, Netherlands). 2017;3(1):30–35.

สุขสรรค์ ชัยวิรัตนะ, ฐิติวรรณ ลมดี. ผลการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา หลังการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกชนิด Low grade squamous intraepithelial lesion (LSIL) ในโรงพยาบาลชลบุรี. Thai Journal of Obstetrics and Gynecology. 2555;20(1):34-40.

นิภา กาญจนาวิโรจน์กุล, ปางฉัตร อรัญวาศรี, ภาคินี รัชพันธ์, ภารดี ตองติดรัมย์. ช่วงอายุของสตรีที่ติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV) และความถูกต้องของการวินิจฉัย HPV จากการตรวจ Pap Smear. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558;30(3):276-281.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17