การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • เสริมสุข ธัญญะวัน โรงพยาบาลเลย
  • อุดมศักดิ์ บุญส่งทรัพย์ โรงพยาบาลเลย
  • ปวีณา ใจชัย โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, การวางแผนจำหน่าย, การวางแผนดูแลล่วงหน้า, การดูแลต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายและศึกษาผลการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลเลย

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental study) เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยระยะท้าย ในโรงพยาบาลเลย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยระยะท้าย 66 คน และผู้ดูแล 66 คน ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 คือระยะพัฒนาการวางแผนจำหน่าย ระยะที่ 3 คือนำผลลัพธ์จากการปฏิบัติตามการจำหน่ายผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองปรับปรุงเพื่อการแก้ไขให้ดีขึ้น ส่วนระยะที่ 4 คือระยะติดตามและประเมินผล โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ และแบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยแบบประคับประคอง  

ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล มีอาการรบกวน เช่น ปวด หายใจหอบเหนื่อย กระวนกระวาย ร้อยละ 34.85 การกลับมานอนโรงพยาบาลด้วยปัญหาที่ป้องกันได้ ร้อยละ 18.18 ได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 78.80 สถานที่เสียชีวิต ร้อยละ 92.89 เป็นที่บ้าน ลักษณะการเสียชีวิต ด้วยอาการสงบ ร้อยละ 65.15 ครอบครัว  มีความพึงพอใจต่อการดูแลผู้ป่วย อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 73.26
(Mean =4.62 SD =61.37) ระดับมาก ร้อยละ 18.21 (Mean = 4.06 SD =58.59)

สรุปผลการศึกษา : งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยการจัดการอาการทางกายที่มีประสิทธิภาพ วางแผนการดูแล  สื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว วางแนวทางการรักษา ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสียชีวิตอย่างสงบตามความประสงค์ที่ได้วางแผนล่วงหน้าไว้

References

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์. แนวทางดำเนินงานศูนย์ดูแลประคับประคองในโรงพยาบาล Operational Guidelines for Hospital Palliative Care program. ศูนย์การุรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2560.

Benza E, Hansen L, Anna W, Fromme KK. Discharge planning for palliative care patients. J Palliat Med [internet]. 2011 [cited 2020 May 1];14:65-9. Available form: https://doi.org10.1089/jpm.2010.0335

Thomas C. Improving hospital discharge for patients at the end of life. Nursing Times 2017;10(113):53-6.

Correa CM, Granero MJ, Hernandez JM, Fernandez SC. Transferring palliative care patients from hospital to community care. Aten Primariaet [internet]. 2017 [cited 2020 Oct 18];49:326-34. Available form: https://www.google Scholar.

doi.10.1016/j.aprim.2016.09.003

Yung YT, Blabkford J. Rapid discharge. Journal of Clinical Nursing 2015;24:2601-10.

Watanabe SM, Nekolaichuk C, Beaumont C, Johnson L, Myers J, Strasser F. A multi-centre comparison of two numerical versions of the Edmonton Symptom Assessment System in palliative care patients. J Pain Symptom Manage. 2011;41(2):456-68.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลประจำปี 2565. กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี; 2564.

Lau KS, Chow WC, Discharge planning in palliative care. HKSPM Newsletter [internet]. 2007 [cited 2020 Oct 18];2:4-6. Available from https://www.fmshk.com.hk/hkspm

Shepperd S, McClaran J, Phillips CO, Lannin NA, Clemson LM, McCluskey A, et al. Discharge planning from hospital to home [CD-ROM]. Cochrane Database Syst Rev 2010.

Chewaskulyong B, Sapinun L, Downing GM, Intaratat P, Lesperance M, Leautrakul S, et al. Reliability and validity of the Thai translation (Thai PPS Adult Suandok) of the Palliative Performance Scale (PPSv2). Palliat Med. 2012;26(8):1034-41.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์, ปรารถนา โกศลนาคร. การวางแผนจำหน่าย ระบบส่งต่อ และการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน ใน ศรีเวียง ไพโรจน์กุล และ นภา หลิมรัตน์, บรรณาธิการ. Training for the trainers in palliative care [internet]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://karunruk.com/prod-uct/traing-of-the-trainers.

Elfrink EJ, Van DR, Boxtex V, Elswijk DV, Zuijlen LV, Stoter G. Problem Solving by Telephone in Palliative Care: Use of a Predetermined Assessment Tool within a Program of Home Care Technology. J Palliat Care [internet]. 2002 [cited 2020 Oct 18];18:105-10. Available from http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12164098/

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน เครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2560;13(1):25-36.

ศรีรัตน์ มากมาย, พรรณี สิทธิโน, สีดา พรมรินทร์. ผลของแผนการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลาม. วารสารโรคมะเร็ง. 2561;38(2):45-56.

Naylor MD, Brooten D, Campbell R, Jacobson BS, Mezey MD, Pauly MV, et al. Comprehensive Discharge Planning and Home Follow-up of Hospitalized Elders:A ndomized Clinical Trial. JAMA [internet]. 1999 [cited 2020 May 1];281(7):613-20. Available form:http://doi:10.1001/jama.281.7.613

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25