การศึกษาความสัมพันธ์ของระยะเวลาการตรวจติดตามค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กับประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ดวงพรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม, ระยะเวลาการติดตาม, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจติดตามค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กับประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาแบบย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2560 ที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี จำนวน 225 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ Frequency, Percentage, Prevalence rate with 95% C.I., Mean (standard deviation), Pearson Chi-square,  Independent t-test, Odds ratio และ Multiple Logistic Regression

ผลการศึกษา : การตรวจติดตามค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดทุก 180 วันมีผลต่อการควบคุมเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ช่วงเวลาที่ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดได้ตามเกณฑ์มากที่สุด คือ การติดตามทุก 60 และ 210 วัน (ร้อยละ 57.14)  ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุมาก (adjusted OR = 1.067, 95% CI: 1.004-1.135) เพศหญิง (adjusted OR = 3.868, 95% CI: 1.741-8.594) ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง (adjusted OR =1.044 , 95% CI: 1.030-1.057 ) และการมีโรคความดันโลหิตสูงร่วม (adjusted OR =0.365, 95% CI: 0.175-0.759) โดยไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย และการมีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วมอื่น

สรุปผลการศึกษา :  ระยะเวลาการติดตาม 180 วัน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการควบคุมค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ซึ่งพบร้อยละของการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ได้ตามเกณฑ์สูงสุดในการตรวจติดตามทุก 60 และ 210 วัน โดยปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดคือ อายุ เพศ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร และการมีโรคความดันโลหิตสูงร่วม

References

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

PPTV. เปิดสถิติป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมากกว่า 500 ล้านคน คร่าชีวิต 5 วินาทีต่อราย [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 14]. เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/health/news/2298

สารัช สุนทรโยธิน, และ ธิติ สนับบุญ. กลไกการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2. ใน: สารัช สุนทรโยธิน, และปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร บรรณาธิการ. ตำราโรคเบาหวาน 2554. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554;26-38.

แสงชัย ธีรปกรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลในเลือดกับระดับฮีโมโกบินเอวันซี ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว. วารสารวิจัยระบบสารธารณสุข. 2551;2(1):809-815.

ntensive blood-glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients with type 2 diabetes (UKPDS 33). The Lancet. 1998 Sep;352(9131):837–53.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระปรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ:บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560

กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):256-68.

ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน โรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561;37(4):294-305.

พิทยาธร เวียงทอง และ อาคม บุศเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563;35(4):476-483.

กานต์ชนก สุทธิผล. ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2565;5(2):1-12.

ธิติพันธ์ ธานีรัตน์. ความชุกของภาวะซึมเศร้าระดับ น้ำตาลสะสมในเลือด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคลินิกต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. [วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17