กรณีศึกษา การศึกษาประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กสมองพิการ โดยใช้แบบประเมิน Gross motor function measure

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี บุญพูนเลิศ โรงพยาบาลสุรินทร์

คำสำคัญ:

เด็กสมองพิการ, แบบประเมิน GMFM-66, การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กสมองพิการโดยการใช้แบบประเมิน Gross motor function measure (GMFM)

รูปแบบและวีธีการวิจัย : เป็นกรณีศึกษาในผู้ป่วยเด็กสมองพิการแบบติดตามผลย้อนหลัง การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดประกอบด้วยเทคนิค Functional training, Exercise(active, passive, stretching), movement analysis and education strategies และ Manual techniques เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยเทคนิคทางกายภาพบำบัด ใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดต่อเนื่องนาน 3 ปี แบบประเมิน GMFM-66 ในการประเมินและติดตามในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัด โดยประเมินผล 24 สัปดาห์

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเด็กสมองพิการก่อนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดมีค่าคะแนน GMFM-66 ร้อยละ 89.70  และหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดมีค่าคะแนนเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ 94.29 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 วิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบการเดิน 6 นาที, การลุกนั่ง 5 ครั้ง, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ, และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ pair t-test พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

สรุปผลการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องร่วมกับการติดตามวัดผลเป็นระยะด้วยแบบประเมิน GMFM-66 ช่วยในการวางแผนการฟื้นฟูที่เหมาะสมและติดตามผลของการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

พรรณี ปิงสุวรรณ. กายภาพบำบัดในเด็กสมองพิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น; 2559.

เขมภัค เจริญสุขศิริ และ สิริพิชญ์ เจริญสุขศิริ. การจำแนกประเภทสมองพิการ: มุมมองของนักกายภาพบำบัด. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2559;3(3):1-9.

ศิรินาถ เลียบศิรินนท์ และคณะ. การศึกษาความเหมาะสมของการใช้แบบประเมินการเคลื่อนไหวชนิด 88 และ 66 ในการประเมินพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็กเล็กไทยพัฒนาการปรกติ. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2555;12(2):344-352. ใช้ประเมินความสามารถทางกายในผู้สูงอายุ .ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(4):197-201.

กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ .6-minute walk test. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2557; 24(1): 1-4.

Bohannon R. W. Test-retest reliability of hand-held dynamometry during a single session of strength assessment. Physical Therapy.1986; 66(1): 206-209.

สิริลักษณ์ ใยดี นวลลออ ธวินชัย และศิริพันธ์ คงสวัสดิ์ .การศึกษาความน่าเชื่อถือของแบบประเมิน Modified Ashworth Scale (MAS) ในการประเมินภาวะ Spasticityในเด็กสมองพิการ(Cerebral Palsy).วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 2550;40(3):243-250.

Mahasup N, Sritipsukho P, Lekskulchai R, Keawutan P. Inter-rater and intra-rater reli-ability of the gross motor function measure (GMFM-66) by Thai pediatric physical therapists. J Med Assoc Thai. 2011 Dec;94 Suppl 7:S139-144.

Kaya Kara O, Livanelioglu A, Yardımcı BN, Soylu AR. The Effects of Functional Progressive Strength and Power Training in Children With Unilateral Cerebral -Palsy. Pediatric Physical Therapy. 2019 Jul;31(3):286–95.

Akinola BI, Gbiri CA, Odebiyi DO. Effect of a 10-Week Aquatic Exercise Training Pro-gram on Gross Motor Function in Children With Spastic Cerebral Palsy. Pediatric Health. 2019 Jan;6:2333794X1985737.

Patel DR. Therapeutic interventions in cerebral palsy. Indian J Pediatr. 2005 Nov;72(11):979–83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25