การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษาที่บ้านต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคไหล่ติด

ผู้แต่ง

  • กุลรัศมิ์ น่าชม โรงพยาบาลโคกสำโรง

คำสำคัญ:

การรักษาทางกายภาพบำบัด, โปรแกรมออกกำลังกายโรคไหล่ติด, โรคข้อไหล่ติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษาที่บ้านต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอาการปวด องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ดัชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของข้อไหล่ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย

วิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) ระยะเวลาเก็บข้อมูลเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม 2565 โดยทำการศึกษาแบบ 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน วัดผลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายในผู้ป่วย กลุ่มทดลองได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดสัปดาห์ละ 3 ครั้งและได้รับโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อการรักษาพร้อมคู่มือและ มีการโทรศัพท์ติดตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามมาตรฐานเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย Independent t-test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม และเปรียบเทียบในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วน pair t-test ใช้เปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่ม

ผลการศึกษา : กลุ่มทดลองหลังการรักษา 4 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับอาการปวดลดลง และองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในท่า shoulder abduction ,shoulder internal rotation , shoulder external rotation ส่วนค่าเฉลี่ยดัชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของข้อไหล่(SPADI) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุปผลการศึกษา : การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อการรักษาโรคไหล่ติดที่บ้าน ทำให้อาการปวดลดลงและพิสัยการเคลื่อนไหวในท่ากางแขน , หมุนแขนเข้าด้านในและหมุนแขนออกด้านนอก เพิ่มขึ้นมากกว่าการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างเดียว

References

จันทิรา หงส์รพิพัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2562;34(1):101-111.

ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์. อาการปวดและความผิดปกติของข้อไหล่ ที่พบบ่อยในเวชศาสตร์ฟื้นฟู. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2561;61(2):206-221.

ณัฐกานต์ อินต๊ะรินทร์ และสาโรจน์ ประพรมมา. ประสิทธิผลการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย โดยใช้ Shoulder Wheel ในผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสาธารณสุขชุมชน. 2561;1(2):1–14.

ธีรภัทร์ รักษาพล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ร่วมกับ การรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม กับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม ในผู้ป่วยข้อไหล่ติด ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(3):27-39.

Phongamwong C, Choosakde A. Reliability and Validity of the Thai version of The Shoulder Pain and Disability Index (Thai SPADI). Health and Quality of Life Outcomes. 2015;13(1):136.

พวงรัตน์ มณีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร; 2540

John W. O’Kane, Sarab Jackins, John A.Sidles, Kevin L.Smith, Frederick A. Simple Home Program for Frozen Shoulder to improve patients’ Assessment of shoulder function and health status. JABFP.1999;12(4):270-8.

สายใจ นกหนู, มณีภรณ์ บกสวัสดิ์, มุคลิส อาม๊ะ. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ยึดติด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2561;10(1):88-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25