พัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในกลุ่มอาการ Long COVID-19 ในผู้รับบริการ หลังการติดเชื้อ COVID-19 คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน : บริบทโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • อนุศร การะเกษ โรงพยาบาลราษีไศล
  • วรรณชาติ ตาเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เกตุนรินทร์ บุญคล้าย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิสมัย ประสมศรี โรงพยาบาลราษีไศล

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, สภาวะการทำหน้าที่ภายหลังการติดเชื้อ, อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ, ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการตนเองในกลุ่มอาการ Long COVID-19 ในผู้รับบริการหลังการติดเชื้อ COVID-19 ณ คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการจัดการตนเองประกอบด้วยกิจกรรม 1) การเฝ้าระวังตนเอง 2) การมีทักษะหรือกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงเพื่อการควบคุมการดำเนินของโรค 3) การเสาะแสวงหาข้อมูลการจัดการตนเอง และ 4) การปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโรคและการรักษา 2. กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบทั่วไป ผลลัพธ์ของการศึกษา คือ พฤติกรรมการจัดการตนเอง สภาวะการทำหน้าที่ภายหลังการติดเชื้อ COVID-19 และอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ

ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยคะแนนสภาวะการทำหน้าที่ภายหลังการติดเชื้อ COVID-19 ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยยังพบว่า อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในแผนกผู้ป่วยนอกหลังการจำหน่ายกลับบ้านใน 72 ชั่วโมง และ 6 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม 0.75 เท่า และ 0.66 เท่า ตามลำดับ และอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินหลังการจำหน่ายกลับบ้าน ใน 72 ชั่วโมง และ 6 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม 0.50 เท่า และ 0.40 เท่า ตามลำดับ

สรุปผลการศึกษา : รูปแบบการจัดการตนเองส่งผลให้พฤติกรรมการจัดการตนเอง สภาวะการทำหน้าที่ภายหลังการติดเชื้อ COVID-19 ดีขึ้น และอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำหลังการจำหน่ายกลับบ้านใน 72 ชั่วโมง และ 6 สัปดาห์ ลดลง 

References

World Health Organization. A clinical case definition of post COVID-19 condition by a Delphi consensus [Internet]. Geneva; 2021 [Cited 2021 October 6] Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Post_COVID-19_condition-Clinical_case_definition-2021.1

ธีรพงศ์ ตัญเจริญสุขจิต. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ Post acute COVID syndrome (Long COVID) ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลานกระบือ. วารสารกรมการแพทย์. 2566; 48(1): 51-59.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์. ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด – 19 และแนวทางการจัดบริการสุขภาพ. วารสารกรมการแพทย์. 2565; 47(2): 5-8.

Hocagil AC, Bildik F, Kılıçaslan İ, Hocagil H, Karabulut H, Keleş A, Demircan A. Evaluating Unscheduled Readmission to Emergency Department in the Early Period. Balkan Med J. 2016 Jan;33(1):72-9.

Creer, L. T. Self-management of chronic illness. In Boekaerts, M., Printrich, P. R., &Zeidner, M. (Eds.). Handbook of self-regulation. 2000. pp. 601-629. San Diego, CA: Academic Press. no636- 300964.pdf

กรรณิการ์ ยิ่งยืน และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. นวัตกรรมเพื่อการจัดการตนเองผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(6):365-371.

สุทัศนา ลิขิตกุลธนพร, บุญเตือน วัฒนกุล และรัสนา เลิศรุ่งชัยสกุล. พัฒนารูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเองในภาวะอาการหลงเหลือของผู้ป่วยโควิด 19 หลังรักษาหาย. วารสารกรมการแพทย์. 2565; 47(3): 104-112.

Brown K, Yahyouche A, Haroon S, Camaradou J, Turner G. Long COVID and self-management. Lancet. 2022 Jan 22; 399(10322): 355. doi: 10.1016/S0140-6736(21)02798-7. PMID: 35065779; PMCID: PMC8776283.

นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. การจัดการตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

ชูศรี วงค์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี:ไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ, 2550.

Klok FA, Boon GJAM, Barco S, Endres M, Geelhoed JJM, Knauss S, Rezek SA, Spruit MA, Vehreschild J, Siegerink B. The Post-COVID-19 Functional Status scale: a tool to measure functional status over time after COVID-19. Eur Respir J. 2020 Jul 2; 56(1) :2001494. doi: 10.1183/13993003.01494-2020. PMID: 32398306; PMCID: PMC7236834.

วรุณ เพ็ชรัตน์, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น และพรวลี ปรปักษ์ขาม. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2560; 28(2): 38-51.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, ลินจง โปธิบาล และทศพร คำผลศิริ. ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตและอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. พยาบาลสาร. 2562; 46(4): 108-121.

Feng C, Wang Y, Li S, Qu Z, Zheng S. Effect of self-management intervention on prognosis of patients with chronic heart failure: A meta-analysis. Nurs Open. 2023 Apr;10(4):2015-2029. doi: 10.1002/nop2.1489. Epub 2022 Nov 20. PMID: 36403127; PMCID: PMC10006670.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25