ผลของการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ระยะเวลารอคอย และการรับรู้บทบาทการคัดแยกผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยนอก ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

ผู้แต่ง

  • สุรางค์ วิมลธาดา โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

ดัชนีคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วน, การคัดแยกผู้ป่วยนอก, การรับรู้บทบาทการคัดแยก, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปฏิบัติงานคัดแยกผู้ป่วยนอก วิเคราะห์ผลของการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน รอระยะเวลารอคอย และศึกษาระดับการรับรู้ของการปฏิบัติบทบาทการคัดแยกของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ (1) เวชระเบียนผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังของเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ได้รับการคัดแยกระดับ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565 สุ่มอย่างง่าย ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 384 ฉบับ และ (2) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 28 คน สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนภูมิดัชนีคัดแยกผู้ป่วยตามความรุนแรงฉุกเฉินฉบับที่ 4 (Emergency Severity Index Version 4) แปลเป็นภาษาไทยและเรียบเรียงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นคู่มือ MOPH ED TRIAGE เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก แบบสอบถามการรับรู้การปฏิบัติบทบาทการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและคู่มือการคัดแยกผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบราค เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : 1) สถานการณ์การปฏิบัติงานคัดแยกผู้ป่วยนอก มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานประจำ 1 อัตรา ในช่วงเวลา 7: 00 – 15: 00 น. ปฏิบัติหน้าที่คัดแยกลำดับที่ 1 (Primary Triage) ทำหน้าที่คัดแยกทั้งผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าตามข้อกำหนดการบริการแผนกต่าง ๆ รวมถึงการคัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ 2) ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยมายื่นบัตรตรวจถึงผู้ป่วยเข้ารับการรับการตรวจรักษาจากแพทย์เป็นเวลา 83.72 นาที ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการคัดแยก ESI และ 3) ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การปฏิบัติบทบาทการคัดแยกผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยนอก ของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( x̅= 4.62, SD = 0.36)

สรุปผลการศึกษา : แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อการคัดแยกผู้ป่วยในบริบทงานบริการผู้ป่วยนอกได้

References

World Health Organization. Patient safety- Global action on patient safety.Report by the Director-General. SEVENTY-SECOND WORLD HEALTH ASSEMBLY Provisional agenda item 12.5: Geneva. [Internet]. 2019. [cited 2023 March 5]. Available from: https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files /WHA72/A72_26-en.pdf.

Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Performance of Ministry of Public Health A.D. 2021. [Internet]. 2021. [cited 2023 March 5]. Available from: https://atg-h.moph.go.th/sites/default/files/2022-032064.pdf. [in Thai].

Out-patient Department. KPI Summery A.D. 2021 -2022. Samut Sakhorn Province: Out-patient Department, Nursing Organization, Krathumbaen Hospital; 2022. [in Thai].

Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the Emergency Department. Medicine. [Internet]. 2010; 107(50): 892-898. Available from: Published online 2010 Dec 17. doi: 10.3238/arztebl.2010.0892.

Bureevong R, et al. MOPH ED. TRIAGE. Nonthaburi: Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2018. [in Thai].

Upananchai S, Oumtanee A. Effects of using the emergency severity index triage model on waiting time of patients and independent roles of professional nurses, emergency room, Klang Hospital. Journal of Charoenkrung

Pracharuk. 2017;13(2): 90-101. [in Thai].

Tohthong W. Effect of Using the MOPH ED Triage on Waiting Time of Patient, Accuracy of Triage, and Triage Roles Professional Nursing Practice in Emergency Department. Nursing, Health, and Public Health Journal. 2022; 1(2): 1-11. [in Thai].

Managan M. Result of using triage guidelines for emergencies in the Outpatient Department, Ckakkarat Hospital, Nakhon Ratchasima Province. Journal Of Public Health Nursing. 2020; 34(3): 52-65. [in Thai].

Cochran WG. Sampling techniques (3rdedition). Printed in the United States of America; 1997.

Gilboy N, Tanabe P, Travers D, Rosenau AM. Emergency Severity Index (ESI): A Triage Tool for Emergency Department Care, Version 4. Implementation Handbook 2012 Edition: AHRQ Publication No.12-0014. Rockville MD: Agency for Healthcare Research and Quality; 2012.

Waltz CF, Strickland OL, Lenz ER. Measurement in Nursing and Health research. (5thed.). New York: Springer; 2017.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. (8thed.). New York: Allyn and Bacon; 2014. Available from: http: www2.odu.edu/~jritz/attachments/reined.pdf.

Jirasinthipok T, Jermwiwatnakul P, Nittayangkun S, Wongsuansiri S, Wongcharoen S. Standards of Nursing Care. (2nd ed.). Nonthaburi: Wvo Officer of Printing Mill; 2008. [in Thai].

Thailand Nursing and Midwifery Council. Announcement of Triage Patient Principle 2020. Thai government gazette in Thai series No. 137/240. [Internet]. 2020. [cited 2022 May 27]. Available from: https//www.tnmc.or.th/images/imagess/userfiles/files/T_00344.PDF. [in Thai].

Sukswang S. Triage Nurse: Beyond Main Process Through Practice. Journal of Health Sciences Scholarship. 2018; 5(2): 1-14. [in Thai].

Phangphol P, Chaisanit S. The Development of Medical Innovation for Smart Patient Screening Platform (Smart Easy OPD/IPD). Sripatum Chonburi Journal. 2021; 17(4): 91-105. [in Thai].

Benner P. Form novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley; 1984.

Civil Service Act, B.E. 2551. BHUMIBOL ADULYADEJ, REX; Given on the 23rd. Day of January B.E. 2551 (2008) Being the 63rd Year of the Present Reign; 2008. [in Thai].

Polit DF, Hungler BP. Nursing research, principle and methods. (6thed.). Philadelphia, New York, Baltimore: J. B. Lippincott; 1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25