ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ฟ้าทะลายโจร ในการรักษาโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, ความปลอดภัย, ฟ้าทะลายโจร, แอนโดรกราโฟไลด์, โควิด-19บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 โดยการให้ผู้ป่วยได้รับยาฟ้าทะลายโจรผงในรูปแบบแคปซูลที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 84 มิลลิกรัมต่อวัน
รูปแบบการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 ดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ถึงธันวาคม 2565 ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 145 คน จะได้รับยาฟ้าทะลายโจรแคปซูลผง ขนาด 350 มิลลิกรัมต่อแคปซูล (มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ 7 มิลลิกรัมต่อแคปซูล) รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เป็นเวลา 5 วัน คำนวณเป็นปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ เท่ากับ 84 มิลลิกรัมต่อวัน ติดตามอาการทางคลินิก ประเมินระดับความเจ็บป่วยด้วย visual analog scale ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา โดยความถี่ในการติดตาม คือ วันแรกที่รับผู้ป่วย วันที่ผู้ป่วยเริ่มทานยา (วันที่ 1) วันที่ 3, 6 และ 14 ทำการประเมินผลการรักษาโดยวัดจากคะแนนรวมของ 12 อาการ ได้แก่ ไข้ ความรุนแรงของอาการไอ ปริมาณน้ำมูก เจ็บคอ ภาวะหายใจลำบาก การได้กลิ่น การรับรส เยื่อบุตาแดง อาการผื่น อาการถ่ายเหลว อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในวันที่ 1, 3, 6 และ 14
ผลการศึกษา : พบว่าคะแนนรวมของกลุ่มอาการทางโควิด-19 จาก visual analog scale ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตั้งแต่วันที่ 3 เมื่อเทียบกับวันที่ 1 ของการรักษาด้วยยาฟ้าทะลายโจร และพบว่าระดับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟ้าทะลายโจรมีผลลัพธ์เชิงบวกที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในวันที่ 3 เทียบกับวันที่ 1 ของการรักษา โดยพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการมีอาการเล็กน้อย มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.48 และ 84.83 ตามลำดับ อาการทางคลินิกที่มีจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการติดตามผลการรักษาในวันที่ 3 เทียบกับวันที่ 1 ของการรักษาด้วยยาฟ้าทะลายโจร ได้แก่ อาการ ไข้ อาการเจ็บคอ ภาวะหายใจลำบาก อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผลการรักษาเมื่อครบเวลา 14 วัน พบว่าผู้ป่วยโควิด-19 เป็นร้อยละ 67.59 หายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยในการรักษาจนหายอยู่ระยะเวลา 10.32 ± 6.77 วัน ด้านความปลอดภัยผู้ป่วยร้อยละ 98.62 ไม่พบอาการข้างเคียงจากการใช้ยาฟ้าทะลายโจร
สรุปผลการศึกษา : การให้ยาฟ้าทะลายโจรผงในรูปแบบแคปซูลที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 84 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้ป่วยโควิด-19 เป็นระยะเวลา 5 วัน มีประสิทธิผลและความปลอดภัย ซึ่งเป็นขนาดการใช้ยาที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ อยู่ในช่วง 60 – 180 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นขนาดที่แนะนำให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
References
World Health Organization. Listings of WHO’s response to COVID-19. [Internet]. [cited 2022 February 22]. Available from: https://www.who.int/news/item/29-06-2020- covidtimeline.
Department of Thai traditional and alternative medicine. Instruction for the use of Andrographis paniculate for the Coronavirus disease 2019: COVID – 19 epidemic situation. Nonthaburi. 2021(in Thai).
National Drug Information. Announcement of the National drug information committees about national list of essential herbal medicine (2nd issue) 2021. Thai government gazette [Internet]. [cited 2021 October 18]. Available from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/120/T_0046.PDF.
Benjapholpitak A, Wisittanon K, Sawangtham T, Thanirat T, Wanarat K. Conclusion of report on the use of Andrographis paniculate to treat COVID – 19 patients. J Thai Trad Alt Med. 202;19(1):229-33 (in Thai).
Kumar RA, Sridevi K, Kumar NV, Nanduri S, Rajagopal S. Anticancer and immunostimulatory compounds from Andrographis paniculata. J Ethnopharmacol. 2004;92(2-3):291-5.
Churiyah, Pongtuluran OB, Rofaani E, Tarwadi. Antiviral and immunostimulant activities of Andrographis paniculata.Hayati Journal of Biosciences. 2015;22(2):67-72.
Puri A, Saxena R, Saxena RP, Saxena KC, Srivastava V, Tandon Js. Immunostimulant agents from Andrographis paniculata. J Nat Prod. 1993;56(7):995-9.
Caceres DD, Hancke JL, Burgos RA, Wikman GK. Prevention of common colds with Andrographis paniculata dried extract. A Pilot double blind trial. Phytomedicine. 1997;4(2):101-4.
Chinese Patent CN1165302C. Medical use of andrographolide and its derivatives. [Internet]. 2003 [cited 2021 October 18]. Available from: https//patents.google.com/patent/CN1165302c/en.
Chinese Patent CN1454592A. Medical use of andrographolide and its derivatives. [Internet]. 2003[cited 2021 October 18]. Available from: https//patents.google.com/patent/CN1454592A/en.
Yan YM, Shen X, Cao YK, Zhang JJ, Wang Y, Cheng YX. Discovery of anti-2019-nCoV agents from 38 Chinese patent drugs toward respiratory diseases via docking screening. Preprints. 2020;2020020254 (doi: 10.20944/preprints202002.0254.v2).
Department of Thai traditional and alternative medicine. Andrographis paniculata for the COVID – 19 patients [Internet]. [cited 2021 July 6]. Available fromhttps://www.tm.mahidol.ac.th/research/News&Events/2021_03_05/1751396_FTJvsCOVID5MAR2021.pdf?fbclid=IwAR2hi1oNj9WatR_mV3zHg5y0yOBGvQOX3HO8lXM5ejA3Mr2UgL7zRwJbzIY (in Thai).
Satayavivad J. Andrographis Paniculate : From Integrated Research to Clinical Use as Anti COVID-19. J Chulabhorn Royal Acad [Internet]. 2022 Jan. 31 [cited 2023 Dec. 19];4(1):1-14. Available from: thaijo.org/index.php/jcra/article/view/255804 (in Thai).
Lwanga SK, Lemeshow S, Organization WH. Sample size determination in health studies: a practical manual: World Health Organization; 1991.
Greenberg SB. Update on Human Rhinovirus and Coronavirus Infections. Seminars in respiratory and critical care medicine. 2016;37(4):555-71.
Songvut P, Suriyo T, Panomvana D, Rangkadilok N, Satayavivad J. A comprehensive review on disposition kinetics and dosage of oral administration of Andrographis paniculata, an alternative herbal medicine, in co-treatment of coronavirus disease. Frontiers in pharmacology. 2022;13:952660.
Mishra S, Sangwan N, Sangwan R. Andrographis paniculata (Kalmegh): A review. Pharmacog Rev. 2007;1:283-98.
Rattanaraksa D, et al. The Efficacy and Safety of Andrographis paniculate Extract for Treatment of COVID-19 Patients with Mild Symptoms, Nakhonpathom Hospital. Region 4-5 Medical Journal. 2021;40(2):269-82 (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม