ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ เพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ บุญถม -
  • ลักขณา ศรีปัดถา โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ณัฐวุฒิ สุริยะ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว, การปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุ , การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 2. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

รูปแบบและวิธีวิจัย : วิจัยกึ่งทดลองศึกษาสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง (The two-group posttest-only design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ผลตรวจเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระผิดปกติ จากโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มารับบริการที่งานผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม โปรแกรม G*Powerกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่รับการส่องกล้องครั้งแรก ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 32 คน แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มตัวอย่าง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามทฤษฎีของ Ryan &Sawin (2009) ซึ่งมีสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลักและสื่อสารทางไลน์แอปพลิเคชันได้เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว (ผู้ดูแลหลัก) แบบประเมินการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ใช้ The Mann-Whitney U Test

ผลการศึกษา : ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้อยู่ในระดับดีร้อยละ 92.28 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.01) เปรียบเทียบความแตกต่างความสะอาดของลำไส้พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีระดับความสะอาดของลำไส้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยระดับความสะอาดของลำไส้ของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองอยู่ในเกณฑ์สะอาดร้อยละ 96.87 ไม่ผ่านเกณฑ์สะอาดร้อยละ 3.12 ส่วนผู้สูงอายุกลุ่มควบคุม อยู่ในเกณฑ์สะอาดเพียงร้อยละ 28.12 ไม่ผ่านเกณฑ์สะอาดร้อยละ 71.86 อยู่ในเกณฑ์แย่และการเตรียมลำไส้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 9.37 และ 3.12

สรุปผลการศึกษา : การให้โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวสามารถทำให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้เพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อยู่ในระดับดีความสะอาดของลำไส้อยู่ในเกณฑ์สะอาดถึงร้อยละ 96.87 ส่งผลให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ในการจัดการตนเอง ครอบครัวเข้าใจถึงบทบาทของตัวเองช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติตัวในการเตรียมลำไส้ใหญ่ที่ถูกต้อง

References

กรมการแพทย์. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง.[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/e-book/hosbased-2565/index. html

สายพิรุณ เจริญจิตต์. ความตระหนักในการดูแลสุขภาพและผลการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี.2563;3(1):47-61.

นิรินธน์ ช่อมะลิ. ผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ [ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์; 2561.

วรุตม์ โล่สิริวัฒน์. การเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องลำไส้ใหญ่. ในสุพจน์ พงศ์ประสบชัย, ธวัชชัย อัควิพุธและ อุดม คชินทร (บรรณาธิการ). การส่องกล้องลำไส้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร; 2554.

โสภณา ว่องทวี, โสภา บุญวิริยะ และธีรนุช บุญพิพัฒนาพงศ์. การทำความสะอาดลำไส้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. Colonoscopy มาตรฐานการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2552

โรงพยาบาลมหาสารคาม.ข้อมูลงานมะเร็งโรงพยาบาลมหาสารคามปี 2563-2565. โรงพยาบาลมหาสารคาม: มหาสารคาม; 2566.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. ข้อมูลการคัดกรองและตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจังหวัดมหาสารคาม ปี 2563-65. เวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาสารคาม: มหาสารคาม; 2565.

Bhanthumkamol, et. al. Incidence and Predictors of Inadequate Bowel preparation befor elective colonoscopy in Thai patients. Asian pacific journal of cancer prevention.2014;15(24):10763-10768.

กรพัชชา คล้ายพิกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุ [ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์; 2560.

Ryan, P. &Sawin, K.J. The individual and family self-management theory: Backgroundand perspectives on context, and outcome. Nursing outlook; 2009:57,217-225.

Bloom, B. The 2 Sigma problem: The Search for methods of group Instruction as Effective as One-to-One tutoring educational researcher. 1984;13(6):4-16.

ศิริขวัญ ศรีสมศักดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

Modi et al., 2009; D. L. Nguyen & M. Wieland.Predictors of Inadequate Bowel Preparation for Colonoscopy. The American Journal of Gastroenterology. 2010;96(6):1797-1802.

Romero, R. V., &Mahadeva, S. Factors influencing quality of bowel preparation for colonoscopy. World J GastrointestEndosc. 2013;5(2):39-46.

Lebwohl, B., Wang, T. C., &Neugut, A. I. Socioeconomic and other predictors of colonoscopy preparation quality. Digestive diseases and Sciences. 2010;55(7):2014-2020.

พรณภา ราญมีชัย. ศึกษาผลโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลอุดรธานี.2565;31(1):2566.

ศุภางค์ ดำเกิงธรรม, ยุพาพร หงส์สามสิบเจ็ด, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2565;29(1):54-64.

YooJin Lee, et al. Impact of reinforced education by telephone and short messageservice on the quality of bowel preparation: a randomized controlled study.Colonoscopy. 2015;47(11):1018-27.

Ye Z, et al. Educational video improves bowel preparation in patients undergoing colonoscopy: a systematic review and meta-analysis. Annals of palliativemedicine. [Internet]. 2020;9(3):671-8. Available from: https://cdn.amegroups.cn/journalarticles/40218/public/40218-PB3-8408-r2.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25