การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019

ผู้แต่ง

  • สายวลุน จันทคาม โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รวิสรา บรรลือ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ณัฐกานต์ ปวงสุข โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ขนิษฐา ศรีธรรมา โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะปอดอักเสบ, ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019

รูปแบบและวิธีวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน ผู้ร่วมวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 20 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. วิเคราะห์สถานการณ์ 2. พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลและ 3. ประเมินผล เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 แบบบันทึกการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวการปฏิบัติการพยาบาล แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติ และแนวคำถามการสนทนากลุ่มดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน เมษายน 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา : 1. ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจค่อนข้างสูง ทำให้มีอัตราการครองเตียง ค่าใช้จ่ายในการรักษา และอัตราการเสียชีวิตสูง 2. ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เกิดแนวปฏิบัติการพยาบาล 1 วงจร ประกอบด้วย 4 หมวดกิจกรรม (4S Model) ได้แก่ การดูดเสมหะและการดูแลความสะอาดช่องปาก การประเมินการหย่าเครื่องช่วยหายใจและการจัดท่านอนคว่ำ การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และการดูแลความสะอาดและสุขวิทยา 3. ระยะประเมินผล พบว่าอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80) คิดเป็นร้อยละ 100 มีการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติครบถ้วนและครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 92.52

สรุปผลการศึกษา : ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิต

References

Biancolella M, Colona VL, Mehrian-Shai R, Watt JL, Luzzatto L, Novelli G, et al. COVID- 19 2022 update: transition of the pandemic to the endemic phase. Human genomics. 2022;16(1):19.

Gattinoni L, Coppola S, Cressoni M, Busana M, Rossi S, Chiumello D. COVID-19 does not lead to a “typical” acute respiratory distress syndrome. American journal of respiratory and critical care medicine. 2020;201(10):1299-300.

Marini JJ, Gattinoni L. Management of COVID-19 respiratory distress. Jama. 2020;323(22):2329-30.

Aziz M, Fatima R, Assaly R. Elevated interleukin-6 and severe COVID-19: A meta- analysis. J Med Virol. 2020;92(11):2283-5.

Rajnik M, Cascella M, Cuomo A, Dulebohn SC, Di Napoli R. Features, evaluation, and treatment of coronavirus (COVID-19). Uniformed Services University Of The Health Sciences; 2021.

Tzotzos SJ, Fischer B, Fischer H, Zeitlinger M. Incidence of ARDS and outcomes in hospitalized patients with COVID-19: a global literature survey. Crit Care. 2020;24(1):516.

Brogna B, Bignardi E, Brogna C, Capasso C, Gagliardi G, Martino A, et al. COVID-19 Pneumonia in Vaccinated Population: A Six Clinical and Radiological Case Series. Medicina (Kaunas). 2021;57(9):891.

Oliver-Commey JA, Puplampu P, Owoo C, Asare-Boateng K, Yawson AO, Tetteh J, et al. Prevalence of pneumonia by chest x-ray, associated demographic characteristics and health risk factors among COVID-19 patients in Ghana. Ghana medical journal. 2021;55(2):21-8.

Wilcox SR. Management of respiratory failure due to covid-19. British Medical Journal Publishing Group; 2020.

Wicky P-H, Niedermann MS, Timsit J-F. Ventilator-associated pneumonia in the era of COVID-19 pandemic: How common and what is the impact? Critical Care. 2021;25(1):1-3.

หอผู้ป่วยเฉพาะโรค. รายงานสรุปผลการดำเนินงานและตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล. มหาสารคาม, โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2565.

Kemmis s, Mctaggart R. The Action Research Planer 3ed. Victoria: Deakin University; 1988.

SM S. Evidence-based Practice Model Promoting the Scholarship of Practice. Philadelphia WB Saunders; 2000.

เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนีนครราชสีมา. 2562;25(1):25-42.

อัลจนา ไชยวงศ์, มาลีวรรณ เกษตรทัต, อุษณีย์ นากุ, สุรสิทธิ์ จีสันติ. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2557;10(3):183-93.

วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, นพกมล ประจงทัศน์. แนวทางป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (VAP): การทบทวนเนื้อหาจากงานวิจัย วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้. 2565;9(2):269-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25