การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ระยะแรกร่วมกับมีภาวะช็อกชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ชุติมา อันเนตร์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การผ่าตัดคลอด, การตกเลือดหลังคลอด, ภาวะช็อก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกร่วมกับภาวะช็อกชนิดรุนแรง  2 กรณีศึกษา ในมารดาที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลมหาสารคามปี พ.ศ. 2564-2566 

รูปแบบและวิธีวิจัย : การรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล

ผลการศึกษา : พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 เป็นการตั้งครรภ์แฝดเคยผ่าตัดคลอดในครรภ์แรกมีอาการเจ็บครรภ์คลอดและตรวจพบภาวะซีด ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องแบบฉุกเฉิน หลังผ่าตัดพบมดลูกหดรัดตัวไม่ดีและมีเลือดออกทางช่องคลอดทันทีเมื่อแรกรับที่หอผู้ป่วย ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ยังพบมดลูกไม่หดรัดตัวและมีเลือดออกทางช่องคลอดจนเกิดภาวะช็อก จึงทำการผ่าตัดซ้ำโดยการตัดมดลูกท่อนำไข่และปีกมดลูกด้านขวาออก สูญเสียเลือดประมาณ 2,800 มิลลิลิตร ให้การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ส่งเสริมบทบาทมารดาและลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ผู้ป่วยปลอดภัย รวมระยะเวลารักษา 5 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2 ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 เคยผ่าตัดคลอดในครรภ์แรก นัดผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องร่วมกับการทำหมัน ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องแบบไม่ฉุกเฉิน หลังผ่าตัดแรกรับที่หอผู้ป่วยพบมดลูกหดรัดตัวดี เลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย มีอาการปวดแผลรุนแรง ระดับความปวด 7 คะแนน ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดและลดความปวด ระดับความปวดลดลงเหลือ 5 คะแนน 4 ชั่วโมงต่อมาผู้ป่วยเวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่อออก ตัวเย็น พบท้องอืด มดลูกไม่หดรัดตัว เลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ให้การพยาบาลขณะเกิดภาวะช็อก ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ตรวจพบมีเลือดออกในช่องท้อง มีการผ่าตัดซ้ำ 2 ครั้ง ครั้งแรก มีการตัดมดลูก ท่อนำไข่ทั้งสองข้างออก ครั้งที่ 2 ทำการผูกเย็บเส้นเลือดแดงที่มดลูก เนื่องจากมีการฉีกขาด สูญเสียเลือดประมาณ 4,900 มิลลิลิตร ให้การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกและลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัว พิทักษ์สิทธิค่ารักษาสิทธิประกันสังคม ผู้ป่วยปลอดภัย รวมเวลารักษาตัว 6 วัน

สรุปผลการศึกษา : การดูแลมารดาหลังคลอดพยาบาลวิชาชีพต้องมีความรู้ ทักษะการประเมินปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด เมื่อพบสัญญาณเตือนสามารถคาดการณ์ความรุนแรงล่วงหน้าและตัดสินใจรายงานแพทย์ได้ทันเวลา และเมื่อเกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉินสามารถให้การพยาบาลช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มารดาหลังคลอดปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

References

ACOG Practice Bulletin No. 76: Postpartum Hemorrhage: Obstetrics & Gynecology. 2006;108(4):1039–48.

World Health Organization.WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. [Internet]. 2021[cited 2023 Oct 20 ]. Available from: https://www.eatright.org/

World Health Organization.UNICEF,UNFPA,and mo1.Jaiborisuttikul S, Suppasri P, Tachasuksri T. Factors influencing elective cesarean section intentionamong.2021;96(9):1021-25

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังมารดาตายสำหรับประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20กันยายน 2566] เข้าถึงได้จาก: htps://hp.anamai.moph.go.th/web-opload.

ศิริภรณ์ ปิ่นโพธิ์และสมพร วัฒนนุกุลเกียรติ.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดระยะ 2-24 ชั่วโมง.วารสารประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ. 2565;22(3):2-12

Carroll, M., Daly, D. and Begley, C.M. The prevalence of women’s emotional and physical health problems following a postpartum hemorrhage: asystematicreview.BMC Pregnancy and Childbirth. 2016;16(1):261

นันทพร แสนศิริพันธ์และฉวี เบาทรวง. การพยาบาลและผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่:สมาร์ทโคดติ้งแอน เซอร์วิส;2561.

สาวิกา ใจบริสุทธิกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งครรภ์. วารสาร พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560;40(1):53-62.

. ถิรนัน สาสุนีย์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมงแรกของหญิงตั้งครรภ์ ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(2):45-56.

นิติพร อยู่แก้ว. อัตราผ่าคลอดตามระบบร้อบสัน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2560;7(3):262-271.

กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลมหาสารคาม.สถิติหอผู้ป่วยสูติกรรม ปี 2560-2566.มหาสารคาม:โรงพยาบาลมหาสารคาม;2566

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ:การประยุกต์ใช้ทางคลินิก.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ;2560.

สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ และเบญญาภา ธิติมาพงษ์. การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์. สงขลา:คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์;2562.

บุษยรัตน์ วงศ์วิริยะ.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า .วารสารวิทยาลัยพระจอมเกล้า. 2561;1(1):39-46.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ.การตกเลือดหลังคลอด.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพราชสุดา สยามบรมราชกุมารี.2560;6(2):146-157.

วันชัย จันทราพิทักษ์, สาวิตรี สุวิกรม, วีรพล เขมะรังสรรค์, นิพันธ์, บุญยัง และเรณู วัฒนเหลืองอรุณ.ความสัมพันธ์ระหว่างการฉีกขาดของปากมดลูกภาวะเลือดออกจากมดลูกส่วนล่างและทำหัตถการกด มดลูกส่วนล่างผ่านทางหน้าท้องในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดปฐมภูมิ. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2564;17(2):10-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25