ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กานต์รวี โบราณมูล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สิทธิพงศ์ ปาปะกัง โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • เกศนีย์ เรียนพิศ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา, การเข้าใจภาษา, การใช้ภาษา, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัย

รูปแบบและวิธีการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่าง 30 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ก่อนและหลังการทดลอง ได้รับการประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) ด้านการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษา ทดลองโดยใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ คือ 1) การให้ความรู้การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา 2) การฝึกทักษะส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษารายบุคคล 3) การใช้สื่อ โปสเตอร์ กิจกรรมการเล่น รวมทั้ง QR code คลิปฝึกทักษะพัฒนาการด้านภาษา และ 4) การกำกับติดตามและนัดมารับบริการต่อเนื่อง ระยะเวลา 1 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนาใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษา โดยใช้สถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา : ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t =-.38, p = 0.71) แต่พัฒนาการด้านการใช้ภาษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(t = -4.43, p ‹ 0.05) 

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาที่พัฒนาขึ้น ส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัย

References

หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี : การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):281-296.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. ผลการดำเนินงานการสุ่มสำรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance & Promotion Manual (DSPM). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2560 สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย; 2560.

พัชราภา กาญจนอุดม. พัฒนาการภาษาล่าช้าหรือภาวะพูดช้าในเด็ก (Child’s delayed language or speech development). [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://164.115.41.60/knowledge/?p=591

เดือนฉาย แสงรัตนายนต์. ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกพูดเด็กพูดช้า โดยใช้คู่มือฝึกพูดสำหรับ ผู้ปกครอง. วารสารราชานุกูล. 2559;31(1):1-12.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กุมารเวชกรรม คลินิกพัฒนาการ โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน คลินิกพัฒนาการ โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2565. มหาสารคาม : โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2565.

จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, สุจิมา ติลการยทรัพย์. ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนในเด็กปฐมวัย: บทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือดูแล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(10):113-124.

Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press; 1977.

เกษมศักดิ์ วงศ์สีดา, รุ่งนภา ต่อโชติ. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนด้านการ เคลื่อนไหว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาขาม ตำบลห้วยยาง จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2566;26(1):26-35.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention :TEDA4I). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์; 2558.

ธนิษฐา ศิริรักษ์. การดูแลสุขภาพตามวัย (Health Care in Differently Age Population). [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class01/388100/Health_care_in_differently/ index5.html

Pattanapongthorn J, Boonsuwan C, Thanajaroenwatchara N. The study of Thai early child development. [Internet]. 2014 [cited 2023 June 10]. Available from: http://inspection. anamai.moph.go.th/

ดลจรัส ทิพย์มโนสิงห์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์.2565;18(1):51-68.

Hanucharurnkul, S. Social Support, Self – Care and Quality of Life in Cancer Patients Receiving Radiotherapy in Thailand. Doctoral Dissertation for the Degree of doctor of Philosophy in Nursing. The Graduate School of Waye State University.1988.

เยาว์รัตน์ รัตน์นันต์. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก :http://203.157.71.148/Information/center/research-web.pdf.

ฤดีมน สกุลคู. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการล่าช้าด้านภาษา ในเด็กอายุ 2-5 ปี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(5):788-796.

จิราภรณ์ แสงพารา, สุพัฒนา ศักดิษฐานนท์, และพูลสุข ศิริพูล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก อายุ 2-3 ปี : การศึกษาเบื้องต้น. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดร. 2561; 26(2):137-147.

พิชญ์ยุทธ์ สุนทรถิรพงศ์. พัฒนาการทางภาษาและการพูด. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://rajanukul.go.th/new/_admin/download/20-5923-1482492733.pdf

อารีย์ คำสังฆะ. การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครอง ใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับ ลูกปลูกภาษา”. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนคริ นทรวิโรฒ;2554.

นิพาพร ธรรมสัตย์. การศึกษาความคิดคล่องทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการอ่านร่วมกันตามแนวสมดุลภาษา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์; 2558.

มาลี เอื้ออำนวย, อภิรัช อินถรางกูร ณ อยุธยา, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, พรรรณิภา บุญกล้า, ศศิธร คำมี, กรชนก หน้าขาว. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของบิดามารดาและผู้ดูแล อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2564;3(1):48-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25