การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, ผู้ป่วยจิตเวชบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช
รูปแบบและวิธีการศึกษา : การศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยจำนวน 2 ราย โดยการเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกตและการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (M.I.N.I. Suicide) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวช (PISRA-12) และแบบประเมินอาการทางจิตแบบสั้น (BPRS) ก่อน-หลัง การใช้กระบวนการพยาบาล ระหว่างวันที่ 9 ถึง วันที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลตามกระบวนการพยาบาล
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เข้ารับการรักษาครั้งที่ 1 กรณีศึกษาที่ 1 มาด้วยด้วยอาการหูแว่วเสี่ยงสั่งให้ฆ่าตัวตาย ระแวงกลัวคนมาทำร้าย และพยายามฆ่าตัวตาย 1 ครั้ง ด้วยวิธีผูกคอตาย ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 มาด้วยอาการมีความคิดหลงผิด ระแวงกลัวคนมาฆ่า ร้องไห้ไม่สมเหตุผล และพยายามฆ่าตัวตาย 2 ครั้ง ด้วยวิธีการวิ่งให้รถชน และนอนให้รถยนต์เหยียบ ได้ประเมินและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและปฏิบัติการพยาบาลตามระยะการเจ็บป่วยของโรค (staging) ในระยะ Acute phase ของกรณีศึกษาที่ 1 ได้แก่ (1) เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมฆ่าตัวตายซ้ำ เนื่องจากมีหูแว่วเสียงสั่งให้ฆ่าตัวตาย (2) เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เนื่องจากมีอาการทางจิตระดับรุนแรง (3) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะถอนพิษสุรารุนแรง เนื่องจากหยุดดื่มสุรา ในระยะ Acute phase ของกรณีศึกษาที่ 2 ได้แก่ (1) เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมฆ่าตัวตายซ้ำ เนื่องจากมีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย (2) เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีอาการทางจิตหลงผิดคิดว่าคนมาปองร้าย และ (3) มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ สำหรับในระยะ Recovery phase ของกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีจำนวน 2 ข้อ ที่คล้ายกัน ได้แก่ (1) เสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำ เนื่องจากมีความรู้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด/การจัดอาการข้างเคียงของยาต้านอาการทางจิต/สัญญาณเตือนของอาการทางจิตกำเริบ/สัญญาณเตือนของการฆ่าตัวตาย (2) แบบแผนการแก้ปัญหาไม่เหมาะสม เนื่องจากใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบหุนหันพลันแล่น/ไม่ระมัดระวัง และหลีกหนี กรณีศึกษาทั้งสองรายได้รับการรักษาและได้รับการจำหน่ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย รวมระยะเวลาในการอยู่รักษา 14 วัน
สรุปผลการศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้
มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะในการพยาบาลที่ตรงตามปัญหาในทุกระยะการเจ็บป่วยของโรค (staging) เพื่อเกิดความปลอดภัยและไม่มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายซ้ำ
References
Fleischmann A, Paul E, Kestel D, Cao B, Ho J, Mahanani WR. Suicide worldwide in 2019.
World Health Organization. Suicide in the world: global health estimates. World Health Organization; 2019.
Naghavi M. Global, regional, and national burden of suicide mortality 1990 to 2016: systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2016. bmj. 2019 Feb 6;364.
ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยจิตเวช. ขอนแก่น; 2565.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงานกรมสุขภาพจิต; 2561.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แผนที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ในสังกัดกรมสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงานกรมสุขภาพจิต; 2564.
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2563.
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. แนวทางยกระดับมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตาย ปี พ.ศ. 2563-2564. ขอนแก่น: [ม.ป.พ.]; 2563.
McKetin R, Leung J, Stockings E, Huo Y, Foulds J, Lappin JM, Cumming C, Arunogiri S, Young JT, Sara G, Farrell M. Mental health outcomes associated with the use of amphetamines: A systematic review and meta-analysis. EClinicalMedicine. 2019 Nov 1;16:81-97.
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. แนวทางการดูแลรักษาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จากผลกระทบการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. ขอนแก่น; 2564.
จุฑามาศ หน่อตุ่น, ชนากานต์ เจนใจ, ชิดชนก เรือนก้อน. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่มี ปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับสุรา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2559; 10(2):137-151.
หวาน ศรีเรือนทอง, ธรณินทร์ กองสุข, วชิระ เพ็งจันทร์, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, เกษราภรณ์เคนบุปผา, รุ้งมณี ยิ่งยืน, และคณะ. ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายของคนไทย: การสำรวจระดับชาติ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;56(4):413-424.
ธรณินทร์ กองสุข. การสอบสวนอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตายแนวใหม่: Suicide and suicide attempt incident investigation new approach. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2567.
สมบัติ สกุลพันธ์. บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: สมาร์ท โคตรติ้ง แอนด์ เซอร์วิส; 2564.
Ferrey AE, Hughes ND, Simkin S, Locock L, Stewart A, Kapur N, et al. The impact of self-harm by young people on parents and families: a qualitative study. BMJ open. 2016 Jan 1; 6(1): e009631.
Orlewska K, Orlewska E. Burden of suicide in Poland in 2012: how could it be measured and how big is it?. The European Journal of Health Economics. 2018 Apr; 19: 409-417.
Kinchin I, Doran CM. The cost of youth suicide in Australia. International journal of environmental research and public health. 2018 Apr;15(4): 672.
อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3): 136-143.
ภิญญดา ภัทรกิจจาธรและจิรวรรณ ชัยวิศิษฎ์. แนวทางการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยจิตเวชตามแบบแผนด้านสุขภาพของกอร์ดอน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 2563;10(1):156-159.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, มธุริน คําวงค์ปิน. ความตรงของเครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I) ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิต แห่ง ประเทศไทย. 2548;13(3):125-135.
ขนิษฐา สนเท่ห์, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ. การพัฒนาแบบประเมิน ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวช. วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย. 2563;1(1):9-24.
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. การใช้เครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (M.I.N.I.) และแบบประเมินอาการทางจิตแบบสั้น (BPRS) ฉบับภาษาไทย. โครงการอบรมการประเมินอาการผู้ป่วยจิต เวช; 2557 มีนาคม 26; ห้องประชุมลักษณวิจารณ์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. ขอนแก่น: กรมสุขภาพจิต; 2557.
รัศมน กัลยาศิริ. การเสพติดและผลแทรกซ้อนทางจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
กองบริหารการสาธารณะสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติสุขภาพจิตและสารเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรสาคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง; 2564.
พจนีย์ ขูลีลัง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย: กรณีศึกษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566;38(2): 437-447.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ ขาดแอลกอฮอล์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; 2564
อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, อรพิน ยอดกลาง, วิภาดา คณะไชย, จารุนันท์ คำชมภู, สาคร บุปผาเฮ้า. การพัฒนาโปรแกรมบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยจิตเวช ที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่า ตัวตาย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(1):86-98.
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย. ขอนแก่น:โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2560
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม