การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัชฌาณัฐ วังโสม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิลาวัลย์ อุดมการเกษตร มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วันเพ็ญ ชำนาญธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการสนับสนุนทางสังคมอย่างเหมาะสม

รูปแบบการศึกษา : ประเมินการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 1 ราย ที่เข้ารับการตรวจติดตามอาการ ณ คลินิกโรคปอด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการสนับสนุนทางสังคมอย่างเหมาะสม

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 76 ปี สถานภาพสมรสเป็นหม้าย พักอาศัยอยู่กับบุตรชายและครอบครัว ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนาน 10 ปี รักษาไม่ต่อเนื่อง สามารถทำกิจกรรมประจำวันทั่วไปได้เอง แต่รู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้าง คะแนนการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (21 คะแนน) โดยการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางการแพทย์ (26 คะแนน) มีคะแนนสูงสุด การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกในครอบครัว (21 คะแนน) และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน (18 คะแนน) ตามลำดับ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกครอบครัว เพื่อนและบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการดูแลเอาใจใส่ การช่วยประเมินอาการผิดปกติ การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และช่วยเหลือด้านอุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล

สรุปผลการศึกษา : การประเมินการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนทางสังคมอย่างเหมาะสมแต่ละราย เป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลเพื่อการดูแลแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

References

World Health Organization. The top 10 causes of death [Internet]. 2020 [Cited 2020 Dec. 25]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission3

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease [Internet]. 2023 [Cited 2023 Aug. 25]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2023/03/GOLD-2023-ver-1.3-17Feb2023_WMV.pdf

Wangsom A, Othaganont P, Ladores S. The factors predicting the health-related quality of life among persons with chronic obstructive pulmonary disease in Public Health Region 4, Thailand: A mixed-methods study. The Open Public Health J. 2020, 13(1): 105-113.

Zimet GD, Dahlem NW, Zimet SG, Farley GK. The multidimensional scale of perceived social support. J. Pers. Assess. 1988, 52(1): 30-41.

House JS. Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley. 1981.

นวลตา โพธิ์สว่าง, สุดใจ ศรีสงค์, เพชราภรณ์ สุพร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้การสนับสนุนทางสังคม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558, 33(1): 50-62.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์ จำกัด. 2565.

พวงรัตน์ มณีวงศ์, นันทิดา จุไรทัศนีย์, นิชธิมา เสรีวิชยสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560, 31(3): 163-175.

ดลฤทัย บุญชู, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, วิไลวรรณ ทองเจริญ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของผู้ดูแล ภาระการดูแล แรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2558, 35(2): 61-78.

Caplan, G. Support systems and community mental health. New York: Behavioral Publication. 1974.

Cobb, S. Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine. 1976, 38: 300–314.

วสันต์ ศรีแดน, ศุภรดา วงค์จำปา, ชนิชา ไชยต้นเทือก. บทบาทพยาบาลในปัจจุบันต่อการสนับสนุนทางสังคมในวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2563, 4: 21-34.

อรุณวรรณ วงษ์เดิม, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติกิจกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2557, 9(3): 120-128.

Yadav, UN, et al. Facilitators and barriers to the self-management of COPD: A qualitative study from rural Nepal. BMJ open. 2020, 10(3): 1-13.

Russell, S, et al. Qualitative systematic review of barriers and facilitators to self-management of chronic obstructive pulmonary disease: views of patients and healthcare professionals. NPJ primary care respiratory medicine. 2018, 28(1): 1-13

Jones PW. St. George’s respiratory questionnaire for COPD patients (SGRQ-C): manual, version 1.3. London: St. George’s University of London [Internet]. 2016 [Cited 2019 Sep. 11]. Available from: https://www.sgul.ac.uk/research/research-operations/research-administration/st-georges-respiratory-

questionnaire/docs/sgrq-c-manual-april-2012.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25