การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการล้ม โรงพยาบาลท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การหกล้มในผู้สูงอายุ, โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการล้มบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
รูปแบบและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research design) โดยการคัดผู้สูงอายุจำนวน 60 คนแบ่งกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน ในกลุ่มทดลองได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เท่ากับทำการฝึก 12 ครั้ง ในกลุ่มควบคุมเป็นการให้การส่งเสริมเพื่อป้องกันการล้มตามการบริการของคลินิกผู้สูงอายุ ทุกคนจะได้รับการทดสอบการทรงตัวโดยการ Five time sit to stand test (FST) และ Time Up and Go test (TUGT) ติดตามผล
6 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ t-test แบบ Dependent และระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองด้วย t-test แบบ Independent
ผลการศึกษา : ผู้สูงอายุกลุ่มที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน พบว่าหลังการฝึก เวลาของ FST ลดลงน้อยกว่า 12 วินาที และเวลาในการทดสอบ TUGT น้อยกว่า 13 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ทั้งสองกลุ่ม และ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าเวลาค่าความแตกต่างของFST ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่เวลาค่าความแตกต่างของ TUGT
ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
สรุปผลการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายเพื่อป้องกันการล้มส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสามารถทำให้การทรงตัวสามารถทำได้ดีขึ้นป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
References
สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทองและอรทัย ยินดี. การศึกษาความเสี่ยง ความกลัวการหกล้ม และแนวทางการจัดการป้องกัน การพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอาย. วชิรสารการพยาบาล. 2564;23(2):30-43.
ภาริส วงแพทย์และวันทนียา วัชรีอุดมกาล. ผลจากการฝึกเดินบนสายพานเลื่อนพร้อมการพยุง น้ำหนักตัวกับ การฟื้นความสามารถเดินและการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชน. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2559; 26(1): 19-23.
นิพา ศรีช้าง นางสาวลวิตรา ก๋าวี.รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.2564.หน้า 1-8.
ปริศนา รถสีดำ. การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน : บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2561;11(2):15-25.
อรพินทร์ ชูชม .การวิจัยกึ่งทดลอง .วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2552;15(1):1-15.
เอกราช วงศ์ษายะ และ คณะ.การศึกษาความเที่ยงตรงของการทดสอบลุกยืน 3 ครั้งและเดินเพื่อใช้ประเมินความสามารถทางกายในผู้สูงอายุ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(4):197-201.
Muñoz-Bermejo L, Adsuar JC, Mendoza-Muñoz M, Barrios-Fernández S, Garcia-Gordillo MA, Pérez-Gómez J, Carlos-Vivas J. Test-Retest Reliability of Five Times Sit to Stand Test (FTSST) in Adults: A Systematic Review and Meta-Analysis. Bio-logy (Basel). 2021 Jun 9;10(6):510. doi: 15.3390/biology10060510. PMID 34207604; PMCID: PMC8228261.
วัลลภา ดิษสระ, พรรณี บัญชรหัตถกิจ และจีราพร ทองดี. การออกกำลังกายต่อการทรงตัวของ ผู้สูงอายุ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ.วารสารวิจัยและนวัตกรรมทาสุขภาพ. 2565;5(2):1-13.
ปารีส ผุยพาณิชย์สิริ, สมพร สังขรัตน์, ศิรินันท์ บริพันธกุล, ศศิภา จินาจิ้น, กัลยพร นันท-ชัย และบุษย์ณกมล เรืองรักเรียน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มต่อการเดินและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารกรมการแพทย์. 2564;46(4):74-80.
ฉัตรสุดา ศรีบุรี, ปารวี มุสิกรัตน์, ปฏิมา ศิลสุภดล และกนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล. ผลของการฝึกเดินถอยหลังและเดินไปข้างหน้าต่อการทรงตัว ตัวแปรด้านระยะทางและเวลาของการเดินและความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารกายภาพบำบัด. 2565;44(1):12-28.
จุฑาทิพย์ รอดสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัว และความกลัวการล้มของผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;15(38):541-560.
วิลาวัลย์ เอี่ยมสอาด และกรรณิการ์ พินิจ. ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของ ผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2566;9(1):103-114
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม