การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความรุนแรงฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ ประเสริฐสังข์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยนอก, ระดับความรุนแรงฉุกเฉิน, รูปแบบการคัดกรอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความรุนแรงฉุกเฉินแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงมิถุนายน 2566
กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอกเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 8 คน และผู้ป่วยนอกในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน 2566 จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1. รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความรุนแรงฉุกเฉิน ประกอบด้วย เกณฑ์ แนวทาง และคู่มือการคัดกรองโดยประยุกต์จากกระบวนการคัดกรอง MOPH ED Triage 2. แบบบันทึกข้อมูลการคัดกรอง 3. แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : พบว่า 1. รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความรุนแรงฉุกเฉิน กำหนดการคัดกรองผู้ป่วยเป็น 5 ประเภท คือ (1) ผู้ป่วยวิกฤต (2) ผู้ป่วยฉุกเฉิน (3) ผู้ป่วยเร่งด่วน (4) ผู้ป่วยไม่เร่งด่วน (5) ผู้ป่วยทั่วไป 2. ผลของการพัฒนารูปแบบ พบว่าคัดกรองถูกต้อง ร้อยละ 89.21 คัดกรองต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 2.89 คัดกรองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 7.89 ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.72, SD=0.52)

สรุปผลการศึกษา : รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความรุนแรงฉุกเฉินที่ได้พัฒนานี้ช่วยให้การคัดกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลในการนำไปใช้ในแผนกผู้ป่วยนอก

References

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์; 2551.

อัมภา ศรารัชต์, จินนะรัตน์ ศรีภัทราภิญโญ และอมรรัตน์ อนุวัฒน์ นนทเขต. การจำแนกประเภทผู้ป่วย งานบริการผู้ป่วยใน กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2547.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสถิติจำนวนผู้มารับบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2563-2565. มหาสารคาม:โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2565.

มยุรี มานะงาน. ผลของการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2563;34(3):52-65.

นิตยา สุภามา, สุพัดชา คำวงษา, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์ และเจษฎา สุราวรรณ์.ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(4):65-74.

วัชราภรณ์ โต๊ะทอง. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนต่อระยะเวลารอคอย และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลคัดกรอง งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข. 2565;1(2):1-11.

สุคนธ์จิต อุปนันชัย และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. ผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยและการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกลาง.วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2560;13(1):90-101.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED TRIAGE. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Kemmis,S & McTaggart, R. The Action Research Planer. (3 ed.). Victoria: DeakinUniversity;1988.

ฉวีวรรณ ตรีชมวารี. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินสําหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่จุดคัดแยกด่านหน้าโรงพยาบาลธวัชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ.2565;3(3):37-48.

สหัศถยา สุขจำนงค์, บัวบาน ปักกระโต, สายสกุล สิงห์หาญ, วิศรุต ศรีสว่าง และผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. คุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2564;1(2):123-133.

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):160-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25