การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมญาติหรือผู้ดูแลในการตัดสินใจให้ผู้ป่วยระยะประคับประคอง สู่ภาวะ good death กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ธัญญารัตน์ ศรีวรนันท์ธำรง โรงพยาบาลประโคนชัย

คำสำคัญ:

การตายดี, ปัจจัยที่ส่งเสริมการตายดี, ระดับความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมญาติหรือผู้ดูแลในการตัดสินใจของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองให้เข้าสู่ภาวะการตายดี

ระเบียบวิธีวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) 1. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยแบบประคับประคอง จำนวน 30 คน 2. ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 30 คน ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะเตรียมการ 1. ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงาน 2. จัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ระยะการดำเนินงานวิจัย 1. ประเมินระดับอาการของผู้ป่วยด้วยแบบการประเมิน PPS และการประเมิน 2. การให้การดูแลทางการพยาบาล 3. การให้ความรู้แก่ญาติหรือผู้ดูแลในการดูแล ระยะประเมินผล การเปลี่ยนแปลงระดับอาการผู้ป่วยด้วยแบบประเมิน PPS และ ESAS  วิเคราะห์ โดยใช้สถิติแบบ Pair t-test และระดับความพึงพอใจของการให้บริการการดูแลผู้ป่วย การใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : พบว่าการเปรียบเทียบระดับผู้ป่วยตามการประเมิน PPS และ ESAS ก่อนและหลัง พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) และระดับความพึงพอใจของญาติในการรับบริการแบบประคับประคองอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจมาก

สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้ป่วยและญาติในการดูแลแบบประคับประคองด้วยกระบวนการดูแลแบบครบวงจร ส่งผลให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าสู่ภาวะเสียชีวิตได้ดี

References

ทัศนีย์ เทศประสิทธ์, พิมลรัตน์ พิมพ์ดี, ศศิพินทุ์ มงคลไชย, พวงพยอม จุลพันธ์ และยุพยงค์ พุฒธรรม. การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2563;23(1):80-90.

World Health Organization. Strengthening of palliative care as a component of integrated treatment throughout the life course. Journal of Pain & Palliative Care Pharmacotherapy. 2014; 28(2):130-4.

ภัสสร โรจน์เพ็ญเพียร, เพชรรัตน์ บุนนาค และสวณี เต็งรังสรรค์. ความรู้ ประสบการณ์ และอุปสรรคกระบวนการจัดการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ของแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;31(4):460-468.

มาลินี พิสุทธิโกศล. ระยะเวลารอดชีวิตในผู้ป่วยแบบประคับประคองที่เป็นมะเร็งเปรียบเทียบกับ ผู้ป่วยที่ไม่ใช่มะเร็ง โดยใช้ Palliative Performance Scale (PPS). วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2562;27(3):294-302.

บุญทิวา สู่วิทย์, สุณี พนาสกุลการ และเบญญาภา มุกสิริทิพานัน. การประเมินอาการที่ก่อให้เกิด ความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง.วารสารพยาบาล. 2558;35(1):153-164.

กิตติยาพร จันทร์ชม, ญาณี แสงสาย และบรรเทิง พลสวัสดิ์. การเสริมสร้างพลังอํานาจในการดูแล ผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในครอบครัวและชุมชน:บทบาทสําคัญของพยาบาล.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2564;5(2):12-24.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผูป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง.พิมพ์ ครั้งที่ 1. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

แบบประเมินการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง โรงพยาบาลสวนดอก [อินเตอร์เน็ต].เชียงใหม่:โรงพยาบาลสวนดอก; 2556. [เข้าถึงเมื่อ 14 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก: [https://w2.med.cmu.ac.th/ha/wp-content/uploads/2020/03E45820.]

ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559;26(3):40-51.

วรัญญา จิตรบรรทัด. บทบาทของพยาบาลชุมชนในการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าเพื่อการตายดีของผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพและการศึกษา. 2565;2(1): 81-92.

วิไล วงศ์แกล้ว และอิศรา สพสมัย. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ ประคับประคอง.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566;8(2): 339-350.

ชลลดา ทิพยจันทร์. การพัฒนารูปแบบการปรับตัวของญาติที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;3(1):17-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27