การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์สำหรับพยาบาลวิชาชีพเพื่อการป้องกันและควบคุมการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ ในหญิงตั้งครรภ์ เขตสุขภาพที่ 7 ภายใต้สถานการณ์โควิด-19
คำสำคัญ:
สื่อวีดิทัศน์, การป้องกันและควบคุมการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์, กลุ่มอาการดาวน์, พยาบาลวิชาชีพ, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และศึกษาประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์สำหรับพยาบาลวิชาชีพ
เพื่อการป้องกันและควบคุมการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ เขตสุขภาพที่ 7 ภายใต้สถานการณ์โควิด-19
รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาและ
ความต้องการ 2) พัฒนาสื่อวีดิทัศน์ 3) นำสื่อวีดิทัศน์ไปใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิผล ในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ 20 คน และหญิงตั้งครรภ์ 120 คน และ 4) ประเมินผลปรับปรุงแก้ไข และยืนยันคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์ด้านเนื้อหาและเทคโนโลยี แบบประเมินทักษะการปฏิบัติและแบบประเมินความพึงพอใจต่อวีดิทัศน์ เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงมิถุนายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-square test, Paired-t-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : 1) สื่อวีดิทัศน์มีเนื้อหา 8 เรื่อง 2) หลังการเรียนรู้สื่อวีดิทัศน์พบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพสูงกว่าก่อนการเรียนรู้สื่อวีดิทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์สูงกว่าก่อนการเรียนรู้สื่อวีดิทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p<.001) และพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์ด้านเนื้อหาและเทคโนโลยี ระดับดีมากร้อยละ 90.0, 85.0 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ระดับมากที่สุด
( x̅= 3.44, SD = 0.41)
สรุปผลการศึกษา : ควรนำสื่อวีดิทัศน์ฯ ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ช่วยให้เข้าใจกระบวนการส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์มากยิ่งขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการเจริญพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ.นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรการให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์กลุ่มอาการดาวน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานการป้องกันการเกิดทารกฝึกอบรมกลุ่มอาการดาวน์. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.
จันทนา พัฒนเภสัช. ตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายเป็นไปได้. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. 2557;2(10):1-4.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 2564สิงหาคม 22]. เข้าถึงได้จาก http://www.scmhospital.go.th/main/ images/NHSO/service_10.pdf.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สรุปประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ[อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2564 สิงหาคม 22]. เข้าถึงได้จาก https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/report_63_05.pdf.
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. แจ้งข้อสั่งการแนวทางการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ เขตสุขภาพที่ 7 [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธันวาคม22]. เข้าถึงได้จากhttp://203.157.71.148/data/cluster/mom/download/BoardflowDW62.pdf.
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7, รายงานการประชุมคณะกรรมการป้องกันการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ เขตสุขภาพที่ 7; 2564; ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7; 2564.
ปริวรรต สมนึก. การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์; 2558.
สุบิน เอกจิต. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการชี้นำ เรื่อง การประชาสัมพันธ์แนวทางการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2561.
จิตราภรณ์ ชั่งกริส. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom เรื่องการตรวจร่างกาย รายวิชาการประเมินสุขภาพ [ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2559.
จอมพล รัตนา และธนดล ภูสีฤทธิ์. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2563;3(9):54-61.
Gagne RM, Wager WW, Golas KC, Keller JM. Principles of instructional design, 5th ed [Internet]. 2005. [cite 2022 February 21]. Available from: https://doi.org/10.1002/ pfi.4140440211.
กิ่งกาญจน์ สิรสุคนธ์. รูบิคหรือรูบิคการให้คะแนน.กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ;2550
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น;2560.
คณิตตา ปันติ ศุภฤกษ์ ทานาค และนาตยา ปิลันธนานนท์. การผลิตสื่อวีดิทัศน์เชิงปฏิสัมพันธ์ เพื่อ ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานเย็บผ้า ในรายวิชาการงานอาชีพของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 2563;35(1):113-122.
อาคีรา ราชเวียง. ศึกษาการผลิตสื่อวีดิทัศน์เยียวยาด้านจิตใจผู้ประสบภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.2561;13(1):219-227.
ขวัญตา งามพริ้ง. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ หลายขนานสำหรับผู้ป่วย [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.
ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ และวิกานดา หมัดอะดั้ม. คุณลักษณะของสื่อวีดิทัศน์และวิธีการสอนโดยการใช้ สื่อวีดิทัศน์เรื่อง การเย็บแผลและผ่าฝีตามความต้องการของผู้เรียน ผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 2563;16(4):111-121.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม