การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิศรุดา ตีเมืองซ้าย โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ, ชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนารูปแบบและผลการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเอง
เพื่อป้องกันภาวะพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับแนวคิดการจัดการตนเองของ Creer (2000) ผู้ร่วมวิจัยคือผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้ม 268 คน ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ 50 คน รวม 318 คนดำเนินการวิจัยเดือนตุลาคม 2565 ถึงกันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะพลัดตกหกล้ม แบบคัดกรองภาวะหกล้ม แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินการทรงตัวของผู้สูงอายุ (Timed Up and Go Test : TUGT) สมุดประจำตัวสำหรับผู้สูงอายุบันทึกกิจกรรมการดูแลตนเองและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-Test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : สถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุยังมีการหกล้มจากการใช้ชีวิตประจำวัน กิจกรรมการป้องกันการหกล้มมีบางพื้นที่ รูปแบบการป้องกันการหกล้มยังไม่ชัดเจน ไม่มีแนวทางการส่งต่อการรักษา รวมถึงผู้สูงอายุคิดว่ายังไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หลังพัฒนาเกิดรูปแบบคือ “SMART WALK model”พบว่าระยะเวลาการเดิน 3 เมตร ไปกลับ (TUGT) ของผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 14.28 เป็น 11.42 วินาที ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 14.79 เป็น 16.01 ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและบริเวณบ้าน พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ก่อนและหลังการพัฒนาพบว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value<0.05)

สรุปผลการศึกษา : การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุต้องมีการประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุม สร้างความรอบรู้ทั้งในผู้สูงอายุ ญาติผู้ดูแล และอสม. มีทีมสหวิชาชีพสนับสนุนฝึกทักษะออกกำลังกายในกลุ่มแกนนำ เพื่อดูแลผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป

References

วนิดา ราชมี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6 Factors Affecting Falling and Falling in Elderly Health region 6 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/cms-of- 15/download/?did=213400&id=91524&reload=

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มสผส.); 2558.

Health Data Center ; HDC. กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต] 2565 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2558;2(1):29-49

กองการพยาบาล. รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบระยะยาวและผู้ดูแล. กรุงเทพ: เทพเพ็ญวานิสย์; 2564.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สินทวีการพิมพ์ จำกัด; 2562.

วัลลภา ดิษสระ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2565;15(1):1-10.

ธนพงษ์ เทศนิยม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(4):90-95.

กาญจนา พิบูลย์และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน [รายงานวิจัย]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

ณภัทรธร กานต์ธนาภัทรและคณะ. การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29(1):111-126.

ปารีส ผุยพาณิชย์สิริ และคณะ. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มต่อการเดินและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารกรมการแพทย์. 2564;46(4):74-80.

ทิพวรรณ โคตรสีเขียวและดิษฐพล ใจซื่อ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):255-269.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์และกรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 2560;35(3):175-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25