ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการระงับความรู้สึก เมื่อให้ยา Midazolam เสริมใน Propofol-based TCI ในผู้ป่วยที่มาเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • จรัมพร พัฒนพิชากร โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

คำสำคัญ:

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่, มิดาโซแลม, เครื่องจ่ายยาสลบโปรโพฟอลทางหลอดเลือดดำแบบคงระดับยาที่ตำแหน่งออกฤทธิ์ได้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา Midazolam ในการช่วยลดขนาดยา Propofol ที่ใช้ระงับความรู้สึก และลดภาวะความดันโลหิตต่ำ ขณะผู้ป่วยเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

รูปแบบและวิธีการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยทุกรายได้รับยา Propofol และบริหารยาโดยใช้ Target controlled infusion (TCI) เพื่อระงับความรู้สึกในระหว่างการรักษา โดยทำการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม M = Midazolam 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม + Fentanyl 1 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ตามด้วย Propofol TCI : Ce เริ่มต้น 1.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และ ให้เพิ่ม Ce ครั้งละ 0.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จนกว่า Modified Observer's Assessment of Alertness/Sedation (MOAA/S) score ≤ 2  และกลุ่ม P = Fentanyl 1 ไมโครกรัม/กิโลกรัม + Propofol TCI : Ce เริ่มต้น 1.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และ ให้เพิ่ม Ce ครั้งละ 0.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จนกว่า MOAA/S score ≤ 2

ผลการศึกษา : จากข้อมูลทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าเฉลี่ย Total Propofol (มิลลิกรัม) กลุ่ม M 150.4±73.3 และ กลุ่ม P 198.2±97.5 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=<0.01) ซึ่งยา Midazolam มีประสิทธิภาพในการช่วยลดขนาดยา Propofol ที่ใช้ระงับความรู้สึกขณะผู้ป่วยเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบภาวะความดันโลหิตต่ำ จากการใช้ยา Propofol พบว่ากลุ่ม M 27 ราย (ร้อยละ 58.7) และกลุ่ม P พบ 26 ราย (ร้อยละ57.8)  ไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.92) และเมื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงจากการใช้ยาพบว่า กลุ่ม M ต้องช่วยเปิดทางเดินหายใจ 12 ราย (ร้อยละ26.1) และกลุ่ม P พบ 9 ราย (ร้อยละ20.0) ไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.49) และไม่มีผู้ป่วยจากทั้งสองกลุ่มยืดระยะเวลาออกจากห้องพักฟื้น

สรุปผลการศึกษา : Midazolam สามารถช่วยลดขนาดการใช้ยา Propofol ได้ และพบว่าภาวะความดันโลหิตต่ำ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอื่นไม่มีความแตกต่างกัน

References

Radaelli F, Meucci G, Sgroi G, Minoli G, Italian Association of Hospital Gastroenterologists (AIGO). Technical performance of colonoscopy: the key role of sedation/analgesia and other quality indicators. Am J Gastroenterol. 2008 May;103(5):1122–30.

Ghanouni A, Plumb A, Hewitson P, Nickerson C, Rees CJ, von Wagner C. Patients’ experience of colonoscopy in the English Bowel Cancer Screening Programme. Endoscopy. 2016 Mar;48(3):232–40.

das Neves JFNP, das Neves Araújo MMP, de Paiva Araújo F, Ferreira CM, Duarte FBN, Pace FH, et al. Colonoscopy sedation: clinical trial comparing Propofol and Fentanyl with or without Midazolam. Braz J Anesthesiol Elsevier. 2016;66(3):231–6.

Eberl S, Preckel B, Fockens P, Hollmann MW. Analgesia without sedatives during colonoscopies: worth considering? Tech Coloproctology. 2012;16(4):271–6.

Gross JB, Bachenberg KL, Benumof JL, Caplan RA, Connis RT, Coté CJ, et al. Practice guidelines for the perioperative management of patients with obstructive sleep apnea: a report by the American Society of Anesthesiologists Task Force on Perioperative Management of patients with obstructive sleep apnea. Anesthesiology. 2006 May;104(5):1081–93; quiz 1117–8.

Sneyd JR, Gambus PL, Rigby-Jones AE. Current status of perioperative hypnotics, role of benzodiazepines, and the case for remimazolam: a narrative review. Br J Anaesth. 2021 Jul 1;127(1):41–55.

Nimmo AF, Absalom AR, Bagshaw O, Biswas A, Cook TM, Costello A, et al. Guidelines for the safe practice of total intravenous anaesthesia (TIVA). Anaesthesia. 2019;74(2):211–24.

Guarracino F, Lapolla F, Cariello C, Danella A, Doroni L, Baldassarri R, et al. Target controlled infusion: TCI. Minerva Anestesiol. 2005 Jun;71(6):335–7.

Hsu CD, Huang JM, Chuang YP, Wei HY, Su YC, Wu JY, et al. Propofol target-controlled infusion for sedated gastrointestinal endoscopy: A comparison of Propofol alone versus Propofol-Fentanyl-Midazolam. Kaohsiung J Med Sci. 2015 Nov;31(11):580–4.

Singh H, Poluha W, Cheung M, Choptain N, Baron KI, Taback SP. Propofol for sedation during colonoscopy. Cochrane Database Syst Rev. 2008 Oct 8;2008(4):CD006268.

Shafer SL, Stanski DR. Defining depth of anesthesia. Handb Exp Pharmacol. 2008;(182):409–23.

Liu SYW, Poon CM, Leung TL, Wong CW, Chan YL, Leung TC, et al. Nurse-administered Propofol-Alfentanil sedation using a patient-controlled analgesia pump compared with opioid-benzodiazepine sedation for outpatient colonoscopy. Endoscopy. 2009 Jun;41(6):522–8.

Cuiabano IS, de Miranda Garbin P, Módolo NSP, do Nascimento P. Safety and efficacy of target-controlled infusion versus intermittent bolus administration of Propofol for sedation in colonoscopy: a randomized controlled trial. Braz J Anesthesiol Elsevier. 2023;73(6):751–7.

Wang D, Wang S, Chen J, Xu Y, Chen C, Long A, et al. Propofol combined with traditional sedative agents versus Propofol- alone sedation for gastrointestinal endoscopy: a meta-analysis. Scand J Gastroenterol. 2013 Jan;48(1):101–10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27