การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุนันต์ทา พิลุน -
  • วิศรุดา ตีเมืองซ้าย โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • นวลละออง สุขมารมย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

เด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า, การมีส่วนร่วม, เด็ก 0-5 ปี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0–5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าด้วยการ  มีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) พื้นที่ศึกษาคือหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 20 แห่ง ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยจำนวน 156 คน คือ เด็ก 0-5 ปีที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า 58 คน ผู้ปกครองเด็ก 58 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 20 คน อสม.20 คน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1. ระยะเตรียมการ 2. ระยะพัฒนา และ 3. ระยะประเมินผล ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนธันวาคม 2564-พฤศจิกายน 2565 เก็บรวมรวมข้อมูลจากเวชระเบียน และฐานข้อมูล HDC เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) แบบประเมินพฤติกรรมที่เป็นปัญหาด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย (EF) แบบประเมินเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (DSPM) และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : 1) ระยะเตรียมการ ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีทักษะ ในการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม และผู้ดูแลให้เด็กเล่นโทรศัพท์และดูโทรทัศน์แทนการเล่นกับเด็ก 2) ระยะดำเนินการ มีกิจกรรมสำคัญ 6 กิจกรรม 1. วิเคราะห์สถานการณ์ค้นหาปัญหา 2. ประชุมคืนข้อมูลและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3. อบรมครู ก เรื่องทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) 4. จัดกิจกรรม Triple-P ให้แก่ผู้ปกครองและเด็ก 5. ติดตามพัฒนาการเด็กแบบ 3 เส้า 6.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ3) ระยะประเมินผล พบว่า ข้อมูลด้านความฉลาดทางอารมณ์เด็กหลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยด้าน EQ ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการพัฒนาคือ เพิ่มจาก 44.86 เป็น 50.98 และด้านทักษะด้านการคิดเชิงบริหารของเด็ก (EF) พบว่าก่อนการพัฒนาส่วนใหญ่มีพัฒนาการ EF ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 34.48 และหลังการพัฒนาเด็กมีค่า EF เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 53.45 และจากการประเมินด้วย DSPM พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีพัฒนาการกลับมาสมวัย คิดเป็นร้อยละ 93.10

สรุปผลการศึกษา: จากการศึกษาได้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0–5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าประกอบด้วย 6 กิจกรรมดำเนินงานภายใต้ชื่อ Triple-p Model และด้านความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัยพบว่า หลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมสูงกว่าก่อนการพัฒนาคือเพิ่มจาก 44.86 เป็น 50.98 และด้านทักษะด้านการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย (EF) พบว่าก่อนการพัฒนาส่วนใหญ่มีพัฒนาการ EF ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 34.48 และหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 53.45 พัฒนาการเด็กที่สงสัยล่าช้า และจากการประเมินด้วย DSPM พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีพัฒนาการกลับมาสมวัย คิดเป็นร้อยละ 93.10 และร้อยละ 6.90 ยังมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนฯ 12 ฉบับประชาชนนวัตกรรมคือหัวใจของการพัฒนา. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2564]. Available from: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8309&filename=index

จันทร์อาภา สุขทัพภ์. “เดินหน้า สร้างเด็กไทย ไอคิวดี” การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์ พับลิสซิ่ง. 2565.

สถาบันราชานุกูล. เชื่อมั่นเด็กไทย ไอคิวดี อีคิวเด่น “การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ในเด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ.2559. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2564]. Available from: https://doc.dmh.go.th/report/compare/iqeq.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2564.

ฐานข้อมูลกลาง (HDC) จังหวัดมหาสารคาม. ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2564]. Available from: https://mkm.hdc.moph.go. th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd1804032119e824.

Kemmis,S.,McTaggart,R.TheActionResearch Planner (3rd ed.). Geelong. Australia: DeakinUniversity; 1988.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วี อินเตอร์ พริ้น, 2563.

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ เด็กอายุ 3-5 ปี (ฉบับย่อ) สำหรับครู/ผู้ดูแล. คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2564]. Available from: https://dmh-elibrary.org/items/show/306

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. แบบประเมินพฤติกรรมที่เป็นปัญหาด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย (MU.EF-102) และกราฟเทียบคะแนนดิบเป็นคะแนนทีของแบบประเมิน MU.EF-102. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2564]. Available from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52916

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ และอมรา ธนศุภรัตนา. โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม Preschool Parenting Program: Triple-P. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สยามพิมพ์นานา, 2563.

ธัญพิชชญา พิมพ์ดี. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก กรณีศึกษา : ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14: 320-332.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วนิสา หะยีเซะ, วารุณี เกตุอินทร์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย:กรณีศึกษาอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร ทหารบก. 2564;22(1): 402-411.

ฮาลาวาตี สนิหวี. รูปแบบการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านพัฒนาการเด็ก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2563;2(1): 41-51.

พรศิริ แสนตุ้ม และวราภรณ์ นาคะศิริ. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลราชมงคล. วารสารคหเศรษฐศาสตร์. 2564;66(1): 75-85.

วรรณภา กางกั้น ทรรศนีย์ โสรัจธรรมกุล และปาณิสรา สิทธินาม. ความสัมพันธ์ของการเข้าโรงเรียนพ่อแม่กับปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2561;41(ฉบับพิเศษ): 50-61.

อรุณศรี กัณวเศรษฐ และคณะ. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลเด็กวัยปฐมวัย. วชิรสารการพยาบาล. 2561;20(1): 40-53.

ลมัย ละอองทัพ. การติดตามประเมินผลพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยงตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่ของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2563;43(2):49-59.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง และคณะ. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2561;41(1): 95-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25