ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พูนทรัพย์ สมกล้า โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • สร้อยสุดา ครองปัญญา โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • วริดา นามเชียงใต้ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, การควบคุมระดับน้ำตาล, การมีส่วนร่วมของครอบครัว, โปรแกรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกนิเบาหวาน โรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีการวิจัย:ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 30 รายที่มารับการรักษา ด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดสูง HbA1C > 9    ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ –31พฤษภาคม2565เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย สื่อการสอนผู้ป่วยเบาหวาน เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด สมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired sample t-test และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภายหลังได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการดูแลตนเอง ต่ำกว่า ก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมการดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

References

กระทรวงสาธารณสุข.ฐานข้อมูล HDC Service. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2564].เข้าถึงได้จาก

https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

กระทรวงสาธารณสุข.ฐานข้อมูล HDC Service. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 14กุมภาพันธ์ 2565].จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. ฐานข้อมูล HDC Service [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ2 มีนาคม 2565].เข้าถึงได้ จาก:https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ชุมุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.หลักสูตรพยาบาลผู้ประสานงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน(โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)Collabolative NCDs Nurse in Community (Diabetes and Hypertension). พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2.ปทุมธานี:ร่มเย็นมีเดีย; 2560.

ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล.โรคเบาหวานและความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง (Diabetes Mellitus and Related Disorders). ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 1.ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2562

นวพร ทุมแถว,วรพจน์ พรหมสัตยพรต และผดุงศิษฏ์ชำนาญบริรักษ์.การพัฒนาระบบการดูแล ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(3): 32-44

พิพัฒน์ พิพัฒน์รัตนเสรี และคณะ. การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับ น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี (เพื่อนเกลอเบาหวาน). วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2554;3(1):33-37.

โชติกา สัตนาโค และจุฬาภรณ์โสตะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง.วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2560;10(4):32-47.

สาวิตรี นามพะธาย.ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม:มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.12. ญาณิสราปินตานาและนิทรากิจธีระวุฒิวงษ์. ผลของโปรแกรมจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2561;12(11):72-83.

อนัญญา ลาลุนและบษพร วิรุณพันธ์.ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีสุรินทร์. 2564;11(1):66-80.

สุชาดา พวงจำปา, กาญจนา พิบูลย์,วัลลภ ใจดี และ เกษม ใช้ครองกิจ.ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความรู้พฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวนก้าวเดิน และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารราย 4 เดือน. 2563;47(2):275-300.

มยุรี เที่ยงสกุล และสมคิด ปานประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(4):696-710.

ศุภพงศ์ ไชยมงคล.ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(37):112-122.

สุมาลี ราชนิยม และรัชชนก กลิ่นชาติ ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในการฉีดอินสุลินของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี. 2561;29(2): 237-249.

เอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ และนภัสฐพร แสงอรุณ. ประสิทธิผลของเทคนิคการให้สุขศึกษาด้วยทีมสหวิชาชีพ ต่อการควบคุมระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสิชล. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว.2011;3(1):6-11.

DiabetesPro. American Dibetes Association.[Internet] 2022.[Cited 2021 much 21] Available from:https://professional.diabetes.org/content-page/practice-guidelines-resources

DiabetesPro. American Dibetes Association.[Internet] 2022.[Cited 2021 much 21] Available from:https://diabetesjournals.org/care/issue/45/Supplement_1

DiabetesPro. American Dibetes Association.[Internet] 2022. [Cited 2021 much 21] Available from: https://professional.diabetes.org/diabetes-education

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25