การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • มะลิ เนื่องวงษา โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • นิศมา แสนศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • อักษ์ศรา กะการดี วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก มหาสารคาม
  • นันท์ชญาน์ นฤนาทธนาเสฏฐ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง, การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดระบบการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดวงจรพัฒนาของเดมมิ่ง 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และควรได้รับการดูแลแบบประคับประคองทุกราย ที่มีค่าคะแนน การแบ่งระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (PPS) 10-70% และยินยอมเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 60 ราย ช่วงเวลาที่ศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 กรกฎาคม 2566

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ให้บริการ และแบบสอบถามความ พึงพอใจของครอบครัว  ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และทดสอบความเชื่อมั่นโดยการหา Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86, 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการศึกษา ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในระยะสุดท้าย ประกอบด้วย คู่มือการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ระบบการส่งต่อผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนในเครือข่าย ด้านผู้ป่วยได้รับการดูแลครอบคลุมองค์รวมมากขึ้น ความพึงพอใจของครอบครัวต่อการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, SD ± .715) ด้านด้านบุคลากรภายหลังการพัฒนาระบบบุคลากรมีความสุขเพิ่มขึ้นจาก 70.78% เป็น 95.42% และความรู้สึกมีคุณค่าเพิ่มขึ้น จาก 78.42% เป็น 97.26% สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งพบว่า บุคลากรรู้สึกมีความสุขที่เกิดทีมและเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านร่วมกัน ผลการ สรุปว่า การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ ดังนั้นควรนำระบบดังกล่าวไปกำหนดเป็นนโยบายในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยให้มีทีมสหวิชาชีพมีส่วนร่วม  เพื่อให้เกิดการดูแลที่มีมาตรฐานในอนาคตต่อไป

References

World health organization. Palliative care [internet] 2022. [Cited 2023 July 18] Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care.

นูรดีนี แมเร๊าะ, วราภรณ์ คงสุวรรณ, และกันตพร ยอดใชย. อุปสรรคในการดูแลแบบประคับประคองในหอผู้ป่วยไอซียู ประสบการณ์ของพยาบาล.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.2560;37(3):74-82.

วาริน่า หนูพินิจ,กิตติกร นิลมานัต,และเยาวรัตน์ มัชฌิม. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของพยาบาลวิชาชีพในไอซียู.วารสารสภาการพยาบาล.2560;32(4):94-106.

มุกดา ยิ้มย่อง.การพัฒนาการจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคบประคองในโรงพยาบาล ระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัญฑิต].สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล,คณะพยาบาลศาสตร์,บัณฑิตวิทยาลัย;นครปฐม:มหาวิทยาลัยคริส เตียน;2556.

World Health Organization. Palliative care: Cancer control: Knowledge into action. WHO guide for effective programmes 2007; Available from: http://www.who.int/cancer/publications/cancer_con trol_ palliative/en/index.html (Access September 1, 2018)

67 th World Health Assembly. Strengthening of palliative care as a component of integrated within the continuum of care. WHO Agenda item 9.4, January 23, 2014. http://apps.who.int/gb/eb-wha/pdf_files/EB134/B134_R7-en.pdf (Access September 1, 2018)

Stjernward J, Foley K, and Ferris F. The public health strategy for palliative care. J Pain Symp Manage 2007;33: 486-93.

Dahlin C. National Consensus Project for Quality Palliative care. In: Ferrel BR,ed. Structure and Process of Care. NY: Oxford University Press. 2015, p 1-11.

Fogelman PM and Bakitas M. Hospital-Based Palliative Care. In: Ferrel BR,ed. Structure and Process of Care. NY; Orford University Press. 2015, p 13-46.

Health Data Center ; HDC.กระทรวงสาธารณสุข.[ออนไลน์] 30 กันยายน 2565 [อ้างเมื่อ1ตุลาคม 2565].https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc.

เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ศูนย์การุณรักษ์. มาตรฐานคุณภาพการดูแลระยะท้ายแบบประคับประคอง.ขอนแก่น: ศูนย์การุณรักษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

การพัฒนาคุณภาพศูนย์ดูแลประคับประคอง. ใน : ศรีเวียง ไพโรจน์กุล ,ปาริชาติ เพียสุพรรณ์. แนวทางการดำเนินงานศูนย์ดูแลประคับประคองในโรงพยาบาล.ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560. หน้า 18-1.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2558;2(1):29-49

บุศยมาส ชีวสกุลยง. การดูแลผูปวยแบบประคับประคอง Palliative care. เชียงใหม่: เวียงการพิมพ์;2556.

ฐิติมา โพธิ์ศรี. การดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตจากโรงพยาบาลสู่บ้าน [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

สาวิตรี มณีพงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตอายุรกรรม แผนกการพยาบาลอายุรกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร์ [รายงานการศึกษาอิสระปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Costello J. Nursing older dying patients: findings from an ethnographic study of death and dying in elderly care wards. Journal of Advanced Nursing. 2001;35(1):59-68.

Raymond Chan RJ, Joan W, Bowers A. End-of-life care pathways for improving outcomes in caring for the dying. Cochrane Database Syst Rev. 2016 Feb 12;2(2):CD008006. doi:10.1002/14651858.CD008006.pub4. PMID: 26866512; PMCID: PMC6483701.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25