การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ

ผู้แต่ง

  • นุชจรี พันธุ์โยศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • เพิ่มพูน ศิริกิจ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • พชรวรรณ คูสกุลรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • นุชนาถ บุญมาศ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นิศมา แสนศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, เชื้อดื้อยา, การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ, รูปแบบการจัดบริการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ร่วมกับใช้แนวคิดการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นกรอบแนวคิดเชิงเนื้อหา พื้นที่ในการศึกษาประกอบด้วย 13 หอผู้ป่วย ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ทีมพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ 30 คน และพยาบาล 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อ, แบบสอบถามความพึงพอใจ, แบบวัดความรู้เกี่ยวกับ ความหมาย วิธีการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันและการปฏิบัติตามมาตรการ SHIP แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับประเด็น สถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ รูปแบบการจัดบริการพยาบาล  ปัญหาและอุปสรรคในการพยาบาล แผนนิเทศ แบบสังเกตการปฏิบัติตาม SHIP Bundle, แผนการอบรม

ผลการศึกษา :  จากการศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ พบมากที่กลุ่มงานผู้ป่วยวิกฤตและกลุ่มงานอายุรกรรม พบประเด็น คน (Host) ซึ่งพบมากในกลุ่มอายุมากกว่า 70 ปีร้อยละ 37.60 และเป็นกลุ่มที่มาด้วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจจากโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 64 เชื้อโรค (Agent) เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Acinetobacter baumannii CRAB-MDR  สิ่งแวดล้อม (Environment) พบการปฏิบัติตามมาตรการยังไม่ครอบคลุม และมีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาถูกส่งตัวไปรับการรักษายังเครือข่ายบริการ ร้อยละ 7.6 สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้มีโอกาสแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น 8 กิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ ผลลัพธ์พบอัตราการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพลดลง รูปแบบการพัฒนามีความเหมาะสมตามบริบทของโรงพยาบาลในระดับมากที่สุด บุคลากรพยาบาลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบพัฒนาในระดับมากที่สุด

สรุปผลการศึกษา : รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดการเรียนรู้ บุคลากรมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นมีแรงจูงใจเกิดนวัตกรรมในการพัฒนา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน มีการทำงานเป็นทีม คุณภาพการพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ลดอัตราการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเกิดประโยชน์ทั้งผู้ป่วยและบุคลากร

References

Center for Disease Control and Prevention. Antibiotic resistance threats in the United States 2013. United States of America: US Department of Health and Human Services; 2013. Available from: http://www.cds.gov/drugrsdidtance/threat-report-2013.

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (NARST). ยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ. กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563 .

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โครงการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย; 2558.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สถาบันบำราญนราดูร; 2562.

Eibicht,S.J, & Vogel,U. Meticillin-resistant Stapphylococcus aureus (MRSA) contamination of ambulance cars after short term transport of MRSA-colonised patientsis restricted to the stretcher. Journal of Hospital Infection. 2011; 78(3):221-225.

Hansen,S,Schwab,F,Asensio,A, Carsauw, H, Heczko,P Klavs,I.et al. Meticillin-resistant Stapphylococcus aureus (MRSA) in Europe: which infection control measures are taken. Infection Control and Hospital Epidemiology. 2010; 38(3):159-164.

สมฤดี ชัชเวช,รุ่งฤดี เวชวนิชสนอง, กุสุมา บูญรักษ์, ไพจิตร มามาตย์, ไพรัช พิมล, สุพรรษา บุญศรี. ผลการนำใช้แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2560; 31: 697-708.

พงศ์ลดา รักษาขันธ์, ณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์, กมลวัลย์ พรหมอุดม, บุญมี มีประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2565;6(1):32-45.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. สถิติงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อโรงพยาบาลมหาสารคาม. เวชระเบียนงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อโรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2562-2565. โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2565.

Kemmis,S & Mc Taggart R. The action research planer 3rd ed. Victoria : Deakin University; 1988:15.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ.ระบาดวิทยาและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่:โรงพิมพ์มิ่งเมือง; 2556.

Bringley.S.C,Sinkowitz-Cochran, C,& CDC Campaign.Assessing motivation for physicians to prevent antimicrobial resistance in hospitalized children using the Health Belief Model as a framework American Journal of infection Control. 2009; 7(47), 175-181.

ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, นงเยาว์ เกษตรภิบาล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร. 2558;42(3):119-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27