บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุกันยา พิลาตัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย พิมหา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์การ, ปัจจัยทางการบริหาร, การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT), เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) ประชากร คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงาน SRRT ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี จำนวน 208 คน คำนวณขนาดตัวอย่าง ได้จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2567–4 กุมภาพันธ์ 2567

ผลการศึกษา : ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณด้านวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี และบรรยากาศองค์การมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง 4 ตัวแปร มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 76.2 (R2=0.762, p-value<0.001)

สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านเทคโนโลยี และบรรยากาศองค์การมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการส่งเสริมการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำเนินงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย และยั่งยืนต่อไป

References

สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565. https://www.neS.D.c.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. แผนยุทธศาสตร์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ประจำปีงบประมาณ 2565. อุดรธานี: กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย; 2565

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: หจก.แคนนา กราฟฟิค; 2563.

Litwin GH, Stringer RA. Motivation and Organizational Climate. Boston. MA: GraduateSchool of Business Administration. Harvard University; 1968.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558

พาฝัน เหล่าน้อย, นครินทร์ ประสิทธิ์, นพรัตน์ เสนาฮาด และสุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและ ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานทางทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2565; 23(2): 172-183.

มานิตา ทาแดง, ประจักร บัวผัน และมกราพันธุ์ จูฑะรก. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่ มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกัน โรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2565; 22(2): 189- 200.

ดัชนีวรรณ สัตย์ธรรม และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐูมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 12(1):

-50.

Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.

นครินทร์ ประสิทธิ์ และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2561; 18(2): 65-77.

กาญจนา พิทักษ์วาณิชย์ และประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2559; 16(1): 90-103.

สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2557; 14(1): 89-104.

ชาญณรงค์ นัยเนตร และประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2566; 23(2): 211-223.

นัฐรินทร์ ช่างศรี และประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(2): 166-178.

จักรกฤษณ์ อาสาสะนา และประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทีมหมอครอบครัวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2566; 23(2): 184-197.

ทิพรฎาร์ คุยแก้วพะเนาว์ และชนะพล ศรีฤาชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 11(4): 47- 57.

พีรภัทร ไตรคุ้มดัน และประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (HOSxP_PCU) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561; 25(2): 90-102.

ภาณุมาศ ทุมวัน และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เครือข่ายระดับตำบลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561; 11(2): 40- 46.

สถิต กลมวงค์, ประจักร บัวผัน และนครินทร์ ประสิทธิ์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2566; 23(1): 26-37.

นรภัทร น้อยสุวรรณ์ และประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล. 2566; 34(1): 71-83.

ปุณณดา มูลศรี, นพรัตน์ เสนาฮาด, นครินทร์ ประสิทธิ์ และสุรชัย พิมหา. ปัจจัยทางการบริหารและการมีส่วนร่วมในงานสุขาภิบาลอาหารที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566; 16(2): 188-201.

Phayvank Keopaseuth, ประจักร บัวผัน และสุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในแผนฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐเขตนครหลวงเวียงจันทร์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(2): 96-107.

บุษบา แสงสุวรรณ, นครินทร์ ประสิทธิ์, นพรัตน์ เสนาฮาด และสุรชัย พิมหา. บรรยากาศองค์การและปัจจัย ทางการบริหารที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2566; 23(2): 224-234.

จินตนา กีเกียง และประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562; 19(2): 154-165.

ชบาไพร สุวรรณชัยรบ และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(3): 145-157.

บูรภพ จันทร์ใบ และชนะพล ศรีฤชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561; 25(2): 35-45.

วิศรุต กาลเขว้า และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13(3): 11-18.

สุขสันต์ สลางสิงห์ และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อ ความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562; 12(3): 604-612.

เสาวนีย์ ม่วงนิล และนครินทร์ ประสิทธิ์. สุนทรียทักษะภาวะผู้นําและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(3):936-951.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27