ผลของการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเฝ้าระวังอันตรกิริยาระหว่างยา ในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นฤมล คูณเจริญรัตน์ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • นวลอนงค์ คูณเจริญรัตน์ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ธนาภรณ์ ลุยตัน โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • รังสรรค์ ศรีสารคาม โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

อันตรกิริยาระหว่างยา, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลของการพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยาที่ผู้ป่วยได้รับ

รูปแบบการศึกษา : การศึกษาแบบย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีเก็บข้อมูล ประมวลผลคำสั่งใช้ยาจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนพัฒนาโปรแกรมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 และระยะหลังพัฒนาโปรแกรม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ fisher's exact test

ผลการศึกษา : การปรับโปรแกรมและฐานข้อมูล ทำให้มีการแจ้งเตือนคู่ยาที่เกิดอันตรกิริยาได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า โดยก่อนปรับโปรแกรมและฐานข้อมูล พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยามีระดับความรุนแรงระดับ E คือ มีภาวะเลือดออก 2 ราย ต้องได้รับการแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น และมีผู้ป่วยที่มีค่า International normalized ratio (INR) สูงขึ้น (มากกว่า 3) 13 ครั้ง หลังปรับโปรแกรมไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก  แต่พบผู้ป่วยที่มี INR สูงขึ้น (มากกว่า 3) 17 ครั้ง ในส่วนของความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา และความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาหลังปรับโปรแกรมมีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.033 และ p=0.028) โดยก่อนปรับโปรแกรมพบพบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยารุนแรงระดับ B จำนวน 248 ครั้ง และระดับ C ขึ้นไป 80  ครั้ง หลังปรับโปรแกรมพบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาลดลง พบรุนแรงระดับ B จำนวน 142 ครั้ง และระดับ C ขึ้นไป 4 ครั้ง

สรุปผลการศึกษา : การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลเพื่อป้องกันอันตรกิริยาระหว่างยา  สามารถตรวจสอบ และแจ้งเตือนคู่ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัน ให้แพทย์ และเภสัชกรได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยา และป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาให้กับผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยของผู้ป่วย ควรมีการนำระบบการสั่งยาผ่านคอมพิวเตอร์มาใช้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล

References

Greet VD, Charlotte Q, Karolien W, Eva VL, Jens P,Greet DV, Rik S,et al. Overall performance of a drug–drug interaction clinical decision support system: quantitative evaluation and end‑user survey. BMC Medical[Internet]. 2022 [cited 2023 Semtember 10];22(48), Available from https://doi.org/10.1186/ s12911-022-01783-z]

Calvin CD, Jonathan DB, Donald KB, Jennifer RO, Andras S, Patricia MF, Patrick KC, James MH. Optimizing Drug-Drug Interaction Alerts Using a Multidimensional Approach. Pediatric 2019; 143(3):1-9.

เบญจมาศ จันทร์ฉวี, วิบุล วงศ์ภูวรักษ์, ธวัช โอวาทฬารพร, ชัยเจริญ อำนวยพาณิชย์, มาหามัดดาโอะ- วาแม, วีรวัฒน์ มหัทธนตระกูล, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการตรวจหาและป้องกันการกระทำระหว่างกันของยาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์(ระยะที่ 1 และวิจัยระยะที่ 2). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2003. hs0991.

Jankel CA, Martin,BC. Evaluation of six computerized drug interaction screening programs. American Journal of Hospital Pharmacy 1992; 49:1430-1435.

Katoo M, Kristof G, Alain G, Pieter C. Evaluation of an optimized context-aware clinical decision support system for drug-drug interaction screening. Int J Med Informatics. 2021; 148(104393) doi: 10.1016/j.ijmedinf.2021.104393. Epub 2021 Jan 15. (2011)

Wright A, Aaron S, Seger LD, Samal L, Schiff DG, Bates WD. Reduced Effectiveness of Interruptive Drug-Drug Interaction Alerts after Conversion to a Commercial Electronic Health Record. J Gen Intern Med 2008; 33(11):1868–76.

ภิสิทธิ์ ฟักศรีและ สุรศักดิ์ เสาแก้ว. ผลของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการดับจับอันตรกิริยาระหว่างยา.เชียงรายเวชสาร. 2015;7(1):17-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27