การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค ในบุคลากรโรงพยาบาล : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
วัณโรค, การพยาบาลโรควัณโรคปอด, บุคลากรโรงพยาบาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค ในบุคลากรโรงพยาบาล กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย
วิธีการศึกษา : เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ที่ติดเชื้อวัณโรค และรับการรักษาด้วยยาวัณโรค ในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ นำข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา และประเมินด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน เพื่อกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย ในระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 – 20 ธันวาคม 2566
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นหญิงไทยอายุ 27 ปี พยาบาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยสูติกรรม ปฏิบัติงานในลักษณะเวรผลัด ตรวจสุขภาพประจำปี 2566 ภาพถ่ายรังสีพบ reticulonodular infiltration ที่ left upper lobe ผลตรวจเสมหะพบเชื้อ TB ในวันที่ 3 ยืนยันผลเป็น Pulmonary TB มีประวัติผ่าตัด Bilateral Lt. Oophorectomy ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี 2 สัปดาห์ พบมี Hct และ Hb ต่ำกว่าปกติ จึงมีความเสี่ยงต่อความทนต่อการทำกิจกรรมได้มากกว่าในรายที่ 2 พบ SGOT และ SGPT สูงกว่าปกติ ไม่มีตัวเหลือง ตาเหลือง รับประทานอาหารได้ปกติ ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นหญิงไทยอายุ 45 ปี พยาบาลชีพประจำงานผู้ป่วยนอก ห้องตรวจ HIV โรงพยาบาลมหาสารคาม ผลตรวจสุขภาพประจำปี 2566 ภาพถ่ายรังสีพบ Increased focal opacity lesion at lateral aspect of left upper hemi thorax มีก้อนที่ breast mass 2 ข้าง ผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ TB มีการรับรู้ด้านสุขภาพ ว่ามีผล CXR ผิดปกติ เป็น Chronic focal pleural thickeny ตั้งแต่ปี 2564 ผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ TB แต่ยืนยันการวินิจฉัย TB จากผล CT ตลอดการรักษา พบเจ็บตามข้อร่วมกับมีเสียงดังตามข้อเวลาเคลื่อนไหว หลังการดูแลร่วมที่งานกายภาพบำบัด 2 สัปดาห์ อาการทั่วไปดีขึ้น รับประทานอาหารได้น้อยเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง 1 กิโลกรัม ใน 6 สัปดาห์ ไม่พบอาการและอาการแสดงของการแพ้ยา
สรุปผลการศึกษา : การคักกรองและให้การรักษาที่รวดเร็วจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้น พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ทัศนคติและทักษะปฏิบัติในการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
References
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย. 2564 [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 17 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/QPdjy
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน .2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.tbthailand.org/download/ Manual/NTP2018.pdf
อรพันธ์ อันติมานนท์ และคณะ. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมวัณโรคในบุคลากรที่ปฏิบัติงานของสถานพยาบาล. นนทบุรี: กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
นวลนิตย์ แก้วนวล และ เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2557; 9(4):193-202.
World Health Organization. Companion handbook to the WHO guidelines for the programmatic management of drug-resistant tuberculosis. Geneva, Switzerland: WHO; 2014:17-22.
กระทรวงแรงงาน. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.labour.go.th/th/doc/law/safetystatute-2554.pdf
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. นนทบุรี: บริษัท ก.การพิมพ์เทียนกวง จำกัด; 2564.
อรพันธ์ อันติมานนท์ และคณะ. แนวทางการบริหารจัดการประเมินและดูแลผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน (return to work management). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
Gordon, M. Nursing Diagnosis: Process and Application, 3d Ed. St. Louis: Mosby; 1994.
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby, 2001:47-49.
Sommerland N, Wouters E, Masquillier C, Engelbrecht M, Kigozi G, Uebel K และคณะ. Stigma as a barrier to the use of occupational health units for tuberculosis services in South Africa. Int J Tuberc Lung Dis. 2017;21(11):75–80.
Kilinc, O., Ucan E.S., Cakan, M.D., Ellidokuz, M.D., Ozol, M.D, Sayiner, A & Ozsoz, M.D. Risk of tuberculosis among healthcare workers: can tuberculosis be considered as an occupational disease. Respiratory Medicine. 2002;96(1): 506-510.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/anemia/download/?did=200493&id=60179&reload
Abera, W., Cheneke, W., & Abebe, G. Incidence of antituberculosis-drug- induced hepatotoxicity and associated risk factors among tuberculosis patients in Dawro Zone, South Ethiopia: A cohort study. Journal of mycobacteriology. (2016);5(1):14-20.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การบริหารจัดการค้นหาและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม