การศึกษาเปรียบเทียบผลการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านเสด็จ กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสด็จ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม 16 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ, ทีมหมอครอบครัว, ระบบปิงปอง 7 สี, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกลุ่มโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านเสด็จ รพ.สต.นิคม 16 รพ.สต.ทรายทอง ในความรับผิดชอบของทีมหมอครอบครัวเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านเสด็จ
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงใน รพ.สต.ทั้ง 3 แห่งที่มาตรวจเลือดประจำปี ตั้งแต่ ตุลาคม 2566 – มกราคม 2567 จำนวน 944 คน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ระดับน้ำตาล น้ำตาลสะสม ความดันโลหิต และสีตามระบบปิงปอง 7 สี ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลการรักษาราย รพ.สต. ด้วยสถิติ One-way ANOVA และ Bonferroni test
ผลการศึกษา : ผลการควบคุมโรคเบาหวาน พบว่าค่าเฉลี่ยน้ำตาลในกระแสเลือดขณะอดอาหาร (FBS) พบอยู่ในช่วง 91 (33.32 ) ถึง 96 (25.83) ถือว่าควบคุมได้ดี แต่จากค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1c) พบว่ามีค่ามากกว่า 7 % แต่ไม่เกิน 8 % ทั้ง 3 รพ.สต. ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้สำหรับผู้สูงอายุ ผลการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ตามระบบปิงปอง 7 สีพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสีเขียวถือว่าควบคุมได้ดี เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานพบว่า รพ.สต.เสด็จควบคุมโรคเบาหวานได้ดีกว่า รพ.สต.ทรายทองอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.002) เมื่อทดสอบค่าความดันเฉลี่ยตัวบน พบว่า รพ.สต.เสด็จควบคุมดีกว่า รพ.สต.นิคม16 และ รพ.สต. ทรายทองควบคุมดีกว่า รพ.สต.นิคม 16 อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.001) และ (p=0.019) ตามลำดับ ส่วนค่าความดันเฉลี่ย ตัวล่างและค่าเฉลี่ยน้ำตาลในกระแสเลือดขณะอดอาหาร พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 3 รพ.สต.
สรุปผลการศึกษา : ผลการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.ทั้ง 3 แห่งภาพรวมอยู่ในระดับดีและยอมรับได้ แต่ยังพบว่ายังมีความแตกต่างกันเมื่อวิเคราะห์เชิงลึกทางสถิติเชิงอนุมาน ถึงแม้จะได้รับการรักษาจากทีมหมอครอบครัวเดียวกันจึงควรมึการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการบริการใหม่ในอนาคต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในระบบเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ. แนวพัฒนาการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ (โรคเบาหวานและโรคความดัน โลหิตสูง) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปีงบประมาณ 2558 (อินเทอร์เน็ต). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558 (เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2566). เข้าถึงได้จาก: http//thaincd.com/document/file/download/knowledge/Clinic-NCD2015.pdf
Pan American Health Organization. Innovative Care for Chronic Condition: Organizing and Delivering High Quality Care for Chronic Noncommunicable Disease in the America. Washington, DC:PAHO, 2013
เนติมา คูนีย์, บรรณาธิการ. การทบทวนวรรณกรรม:สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์.กรมการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี;2557
ยศ ตีระวัฒนานนท์และคณะ. การวิจัยเชิงวิเคราะห์เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ของนโยบายคลินิกหมอครอบครัว (Synthesis Research for Economic Evaluation of Primry Care Cluster Policy).HITAP.หน่วยวิจัยเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร “คเณศ”. คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร 2560.
Khonthaphakdi D, Permthonchoochai N, Jariyatheerawong Y.Perception of Hospital Administrators and Primary Care Practitioners on Primary Care Cluster Policy: Understandings, Expectations, Obstacles and Suggestions.JHSR; 2018;12:1-13
สปสช. กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์. CPG for Diabetes 2023.
สปสช. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย.Thai guideline on the treatment of Hypertension 2019.
Saisawan, T. Development of Care Model for Type 2 Diabetic Patients by Multidisciplinary Team with Family Medicine Principles.JHS 2020;29(1): 91-98.
ดวงดาว ศรียากูล, สันติ ลาภเบญจกุล. รายงานการวิจัยพัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดบริการแบบ บูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Report on Development
Of Delivery Model and Guideline for Integrated Peple-centered Health Service of Primary Care Cluster). สวรส 2563.
วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย,ผกามาศ อรุณสวัสดิ์.การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานของคลินิกหมอครอบครัวตามแนวคิดเรื่องการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Performance Analysis of Primary Care Cluste under Integrated People-centered Primary Care System,IPCPS) in Thailand.สวรส 2023.
วิชัย เทียนถาวร. ระบบและผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในประเทศไทยด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ( System and result: Surveillance, Control and Prevention Diabetes and Hypertension Disease in Thailand by Vichai’s 7 Colors Ball Model). พิมพ์ครั้งที่ 8. พะเยา. พิมพ์ดี เซ็นเตอร์ พลัส; 2560.
สำรวย อาญาเมือง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองด้านการรับประทานยาต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานยาและค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูง หลังเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเร่งด่วน .วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561.
Juwa S, Wongwat R, Manoton A.The Effectiveness of the Health Behavior Change Program with 7 Colors Ball Tool on Knowledge, Health Belief and Behavior Related to the Prevention and Control of Hypertension and Diabetes Mellitus in Maeka Sub-District, Muang District, Phayao Province.Songklanagarind J Nurs.2019;39:127-141.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม