การจัดการปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศุภิญญา ภูมิวณิชกิจ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความร่วมมือในการใช้ยา, ปัญหาด้านยา, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาและประเมินการจัดการปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยแบบพรรณนา ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยาในรพ.สต. 3 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ทำการจำแนกและวิเคราะห์ปัญหาด้านยา สาเหตุด้านยา วิธีการจัดการปัญหาด้านยา และติดตามผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้านยา การวิเคราะห์สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : แบบติดตามความร่วมมือในการใช้ยาระดับบุคคลและครอบครัวที่พัฒนาขึ้น เมื่อนำมาประเมินผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจากเภสัชกร 1,272 ครั้ง พบปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย 46 ราย โดยพบปัญหารวม 55 ปัญหา ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาไม่ต่อเนื่อง หยุดยาเอง ตั้งใจไม่ใช้ยาต่อ การใช้ยาไม่ถูกขนาด การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา สาเหตุหลักเกิดจากอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา ผู้ป่วยมีปัญหาด้านความทรงจำ ผู้ป่วยเลือกใช้ทางเลือกอื่น/สมุนไพรในการรักษา วิธีการแก้ไขปัญหาคือ การให้คำแนะนำโดยวาจาแก่ผู้ป่วย การดำเนินการตามระบบด้านอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา การประสานงานแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการแก้ไขปัญหา

สรุปผลการศึกษา : การศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะรูปแบบและแนวทางการจำแนกปัญหา สาเหตุ วิธีการจัดการ และการติดตามผลลัพธ์ด้านยา ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประเมินและจำแนกปัญหาด้านยาที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความซับซ้อน ทำให้เกิดการแก้ปัญหาของผู้ป่วยด้านความร่วมมือในการใช้ยาได้อย่างเฉพาะเจาะจงและมีการขยายนำไปใช้ในทุก รพ.สต. เขตพื้นที่บริการในเครือข่ายของโรงพยาบาลมหาสารคามได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

คณะทำงานจัดทำคู่มือเภสัชกรรมปฐมภูมิ. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชในหน่วยบริการปฐมภูมิ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2560.

ธิดา นิงสานนท์. จากอดีตสู่อนาคต : ความท้าทายในบทบาทเภสัชกรประจำครอบครัว. ใน : ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, อุษณีย์ วณรรฆมณี และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราเภสัชกร ครอบครัว. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย); 2557.

รจเรศ หาญรินทร์. การจัดประเภทของปัญหาเกี่ยวกับยา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2552;1(1): 84-98.

สมทรง ราชนิยม และกฤษณี สระมุณี. การจัดการปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวในเครือข่ายบริสุขภาพอำเภอกระนวน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2559;8(1):169-181.

นรินทรา นุตาดี และ กฤษณี สุระมุณี. การประเมินผลการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพที่มีเภสัชกรร่วมทีมเพื่อจัดการปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2559;8(1): 206-216.

วิภาดา ปุณณภาไพศาล , ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ , กฤษณี สระมุณี. การออกแบบระบบการจัดการยาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการวิเคราะห์สาเหตุราก. วารสารเภสัชกรรมไทย. 256;10(2): 300-314.

กมลรัตน์ บัญญัตินพรัตน์ และปณิดา ลิมปะวัฒนะ. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของ ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลดงหลวง. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2565;5(2):40.

ชมพูนุท พัฒนจักร. ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):13-22.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก, ปวีณา ว่องตระกูล, หรรษา มหามงคล และ วรัญญา เนียมขำ. การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชน ศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2559;20(39):97-108.

วิมล เกษสัมมะ. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายโรงพยาบาลวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2556.

นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์. ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (Medication non adherence). วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ (ฉบับการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์). 2555;7(1):1-18.

จารุวี กาญจนคีรีธำรง, วันทนา เหรียญมงคล, จุราพร พงศ์เวชรักษ์ และ อุษณีย์ วนรรฆมณี. การประเมินปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2548;23(4):229-240.

พิจักษณา มณีพันธุ์ และกรกมล รุกขพันธ์. ปัญหาด้านยาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดการปัญหาโดยเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561;10(2):551-562.

อารีวรรณ์ ไชยรักษ์. การค้นหาและการจัดการปัญหาจากการใช้ยาจากเภสัชกรเยี่ยมบ้าน. [อินเตอร์เน็ต]. ประเทศไทย; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://km.stno.moph.go.th/อารีวรรณ์.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27