ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ชนาธิป ไชยเหล็ก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันและควบคุมโรค, ระบบสุขภาพเขตเมือง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางเชิงวิเคราะห์ ประชากรเป็นอสม. ที่ปฏิบัติงานใน 27 ชุมชนในปี 2566 สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบกลุ่มชนิดขั้นตอนเดียว จำนวน 17 ชุมชน รวม 198 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขของสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเชิงอันดับ

ผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรครวมทุกทักษะอยู่ในระดับมีปัญหา (58.3±9.4 คะแนน) เมื่อแยกรายทักษะพบว่าทักษะที่อยู่ในระดับพอเพียงคือทักษะการเข้าใจและการนำไปใช้ ส่วนทักษะที่อยู่ในระดับมีปัญหา ได้แก่ การเข้าถึง การไต่ถาม และการตัดสินใจ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคคือ ระดับการศึกษา โดยระดับอนุปริญญาขึ้นไปมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าระดับประถมศึกษา (adjusted OR=2.54, 95% CI: 1.22-5.29) เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเพศ

สรุปผลการศึกษา : กลยุทธ์ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคของอสม. ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี โรงพยาบาลควรเน้นที่ทักษะการเข้าถึง การไต่ถาม และการตัดสินใจ และการออกแบบกิจกรรมควรคำนึงถึงปัจจัยด้านการศึกษาร่วมด้วย

References

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/Ebookmoph20.pdf

กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2561.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

องค์การอนามัยโลก. อสม.ไทยกว่าล้านคน หรือ “ผู้ปิดทองหลังพระ” ช่วยสอดส่องดูแลให้ชุมชนห่างไกลโควิด 19. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/thailands-1-million-village-health-volunteers-unsung-heroes-are-helping-guard-communities-nationwide-from-covid-19-TH

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง และคณะ. การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://spd.moph.go.th/wp- content/uploads/2022/09/Ebookmoph20.pdf

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. กรุงเทพฯ: อาร์ เอ็น พี พี วอเทอร์; 2564.

จิตติยา ใจคำ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และอักษรา ทองประชุม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2564;8(2):1-24.

หยาดพิรุณ ศิริ, อธิวัต อาจหาญ, นิรชร ชูติพัฒนะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารควบคุมโรค 2565;48(3):493-504.

วรัญญา หล่อพัฒนเกษม, ธนิดา ผาติเสนะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 2566;38(2):64-78.

เทศบาลเมืองกาญจนบุรี. แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) ของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.muangkancity.go.th/public/list/data/detail/id/4034/menu/1196/page/1/c atid/85

Ngamjarus C. Sample size calculation for health science research. Khon Kaen: Khon Kaen University Printing House; 2021.

ประเวช ชุ่มเกสรกูลกิจ, จักรกฤษณ์ พลราชม, นิรันตา ไชยพาน และสุจิตรา บุญกล้า. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1197020211122031509.pdf

Chowdhury MZI, Turin TC. Variable selection strategies and its importance in clinical prediction modelling. Family Medicine and Community Health 2020;8:e000262.

ภานุวัฒน์ พิทักษ์ธรรมากุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชนต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 5 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://do5.hss.moph.go.th/pdf/วิจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุข.pdf

ณัฎฐพัชร์ ซ่อนกลิ่น. ข่าวปลอมในแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดปราจีนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2565.

ปาจรา โพธิหัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา 2564;29(3):115-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27