การพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • อะนุตย์ ปุริสังข์ โรงพยาบาลยางสีสุราช
  • กำทร ดานา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พัชรมาศ คุณวงศ์ โรงพยาบาลยางสีสุราช
  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ระบบบริการ, การดูแลระยะยาว, ผู้สูงอายุในชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบประสานความร่วมมือ (Mutual collaborative approach) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ความต้องการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน 2) ระยะพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน และ 3) ระยะประเมินผลระบบบริการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 75 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสรุปความ

ผลการศึกษา : สถานการณ์ของผู้สูงอายุในพื้นศึกษาพบ 1) ด้านร่างกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีภาวะสุขภาพปานกลาง ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย มีปัญหาการเคลื่อนไหว สูญเสียความจำและการมองเห็น 2) ด้านสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีภาวะสมองเสื่อม 3) ด้านเศรษฐกิจและสังคม แม้จะได้รับสนับสนุนการเงินจากบุตร รัฐบาลและชุมชน แต่ยังมีความกังวลด้านการเงิน กระบวนการการพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย 1) การสร้างการมีส่วนร่วม 2) การสร้างความตระหนัก 3) การสร้างศูนย์รวมการบูรณาการทำงานระหว่างสามองค์กรภาคี และ 4) การบริหารจัดการให้บริการแบบบูรณาการ การดูแลระยะยาวระหว่างสามองค์กรภาคี ผลลัพธ์จากการพัฒนาพบว่า มีการจัดบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน และมีความสามัคคีของคนในชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันเพื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา มี 3 ภาคี คือโรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรภาคประชาชน ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในการทำงานร่วมกันและปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน คือ วิสัยทัศน์ของผู้นำ ศักยภาพของทีมดำเนินงาน และทุนทางสังคมของชุมชนที่ศึกษาถือเป็นปัจจัยของความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน

สรุปผลการศึกษา : การพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของ 3 ภาคี คือ โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรภาคประชาชน เกิดเป็น 4Cs Model

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.

Wrotek M, Kalbarczyk M. Predictors of long-term care use - informal home care recipients versus private and public facilities residents in Poland. BMC Geriatr. 2023;23(1):512. doi: 10.1186/s12877-023-04216-2.

Permanyer I, Villavicencio F, Trias-Llimós S. Healthy lifespan inequality: morbidity compression from a global perspective. Eur J Epidemiol. 2023;38:511–21. doi: 10.1007/s10654-023-00989-3.

สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล, และคณะ. ความเสื่อมเลี่ยงไม่ได้ แต่ชะลอได้. กรุงเทพฯ: ธนาเพส; 2551.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, จามจุรี แซ่หลู่, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, อรัญญา นามวงศ์. สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2563;17(2):581-95.

Kaufman W. Long-term care: managing across the continuum. Massachusetts: Jones & Bartlett Publishers; 1980.

Pratt JR. Long-term care: managing across the continuum. 3rd ed. Massachusetts: Jones and Bartlett Publishers; 2010.

World Health Organization. Home-based long-term care: report of a WHO study group. Geneva: WHO; 2000.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. บูรณาการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: เจพริ้น; 2553.

Sherwood S. Long–term care: issues, perspectives and directions. In: Sherwood S, editor. Long-term care: a handbook for researchers, planners, and providers. New York: Spectrum Publications; 1975.

สัมฤทธิ์ ศรีดารงสวัสดิ์. รูปแบบการดูแลระยะยาวสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ในระยะยาวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: กราฟิกซีสเต็ม; 2550.

กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. ภาวะพึ่งพาของประชากรสูงอายุไทย. ใน: ชื่นตา วิชชาวุธ, สถิตพงศ์ ธนวิริยะ กุล, บรรณาธิการ. ระบบการดูแลระยะยาวและกำลังคนในการดูแลผู้สูงอายุ: ทิศทางของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2552.

สุพัตรา ศรีวณิชากร. ข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการด้านผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับบริการ. ใน: รายงานการประชุมโครงการประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิเรื่องการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ; วันที่ 22-23 มกราคม 2552; ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่นกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.]; 2552.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Victoria: Deakin University; 1992.

ผ่องพรรณ อรุณแสง, และคณะ. รายงานวิจัยเรื่อง ภาพสุขภาพผู้สูงอายุในสถาบันบริการสุขภาพและ ในชุมชน. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

Floridi G, Carrino L, Glaser K. Socioeconomic inequalities in home-care use across regional long-term care systems in europe. J Gerontol B Psychol Sci Soc Sci. 2021;76(1):121-32. doi: 10.1093/geronb/gbaa139.

ศิราณี ศรีหาภาค, ธารา รัตนอำนวยศิริ, นวลละออง ทองโคตร. รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566;16(1):165-78.

ศศินันท์ สายแวว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(4):197-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27