การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการยศาสตร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ประนมพร ตุมอญ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การยศาสตร์, ความสามารถแห่งตน, ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการยศาสตร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในโรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะ 1. ศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการพัฒนา 2. พัฒนารูปแบบ 3. นำรูปแบบไปใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิผล 4. ประเมินผลปรับปรุงแก้ไขและยืนยันคุณภาพรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรศูนย์จ่ายกลางโรงพยาบาลมหาสารคามโดยเลือกแบบเจาะจงจำนวน 37 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ แบบประเมินภาวะทางการยศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.84 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ Paired sample t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05

ผลการศึกษา : 1. สถานการณ์อาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ พบว่าตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวดมากที่สุดคือบริเวณไหล่ หลังส่วนล่าง และคอ เมื่อยล้าหลังเลิกงานเป็นบางครั้ง อาการผิดปกติมากที่สุด คืออาการขัดยอก สาเหตุมาจากการทำงานยกของหนัก การทำงานซ้ำๆ ระยะเวลานาน ส่วนใหญ่ใช้วิธีบีบนวดด้วยตัวเอง 2. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ได้พัฒนา 1) การประเมินความเสี่ยง 2) การอบรม ทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที การอบรมเพิ่มความรู้ ความตระหนักกลุ่มไลน์สนับสนุนโดยเพื่อนช่วยเพื่อน การใช้เครื่องทุ่นแรงทดลองออกแรง รูปแบบประกอบด้วยนโยบาย กระบวนการปรับเปลี่ยนติดตามประเมินผลพบว่ายังมีปัญหาความเจ็บปวดบริเวณไหล่ ร้อยละ 29.72 ลดลงจากร้อยละ 78.37 และ 67.56หลังส่วนล่างร้อยละ 24.32 ลดลงจากร้อยละ 59.45 เมื่อมีปัญหาเจ็บปวด ส่วนใหญ่ใช้การบีบนวดร้อยละ 45.90 ความรุนแรงเจ็บปวดในครั้งล่าสุดปวดปานกลาง ระดับ 3-5 คะแนน ร้อยละ 24.32 ในครั้งที่มีระดับ 1–2 คะแนน ปวดเล็กน้อย ร้อยละ 29.72 และ 3. ผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พัฒนาขึ้นพบว่า ความรุนแรงของการบาดเจ็บกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างหลังการทดลองลดลง ผู้รับการอบรมมีความรู้หลังการทดลองสูงขึ้น พฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรมเสี่ยงลดลง มีความรู้ความสามารถแห่งตนสูงขึ้น และมีความคาดหวังในผลลัพธ์หลังการฝึกอบรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผลการศึกษา : ภายหลังการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการยศาสตร์ ตามทฤษฎีความสามารถแห่งตน บุคลากรศูนย์จ่ายกลางมีความรู้ด้านการยศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพ ความรู้ความสามารถแห่งตนสูงขึ้น ความคาดหวังในผลลัพธ์สูงขึ้น และระดับความรุนแรงอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างลดลงกว่าก่อนการได้รับการปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Istituto Ortopedico Galeazzi. Development and validation of the work-related musculoskeletal disorders risk assessment Questionnaire [Internet].Clinical trials. gov; 2019 [cited 2021 Feb 10]. Available from:https://clinicaltrials.gov/ct2/show/ https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04192604.

World Health Organization. Asia WHORO for SE. Decade for health workforce strengthening in SEAR 2015-2024, mid-term review [Internet]. Regional Office for South-East Asia; 2020 [cited 2021 Aug 13]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/334226

Jellad A, Lajili H, Boudokhane S, Migaou H, Maatallah S, Frih ZBS. Musculoskeletal Disorders among Tunisian hospital staff: prevalence and risk factors. The Egyptian Rheumatologist. 2013; 35(2): 59-63.

Rempel DM, Janowitz IR. Ergonomics and the prevention of occupational injuries. In: Ladou J, Harrison RJ, eds. Current occupational and environmental medicine. 5th ed. San Francisco: McGraw Hill Medical; 2014.197-220.

Vinstrup J, Jakobsen M, Madeleine P, Andersen L. Physical exposure during patient transfer and risk of back injury & low-back pain: prospective cohort study. BMC Musculo skeletal Disord. 2020;21(1):715. doi: 10.1186/s12891-020-03731-2.

Risk factors for musculoskeletal disorders — working postures – OSHA Wiki [Internet]. [Cited 2021 Feb 10]. Available from:https://oshwiki.eu/wiki/Risk_ factors_for_musculoskeletal_disorders_%E2%80%94 _working_postures

International Organization for Standardization. ISO/TR 12296, 2012. Technical report ergonomics manual handling of patients in the healthcare sector. Geneva: ISO; 2012.

กระทรวงแรงงาน. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน.กลุ่มงานกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทางาน ปี 2559 - 2563 [อินเทอร์เน็ต]. มิถุนายน 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://kyl.psu.th/6Ry6zKfvH

พัชราภรณ์ งําเมือง, วีระพร ศุทธากรณ์. ปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2562;49(3):325-338.

Becker MH. The Health Belief Model and Sick Role Behavior. Health Education Monographs. 1974 Dec;2(4):409–19.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 (Sustainable Development Goal 3) สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน ในทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1:กรุงเทพฯ; 2566.

ณฤดี พูลเกษม. การจัดการด้านการยศาสตร์เพื่อป้องกันอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อกระดูก โครงร่างของพนักงานเก็บขนขยะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. [ปริญญา สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

Bandura, A. Social learning theory. New Jersey:Prentice–Hall; 1997.

สุวินันท์ ทวีพิริยะจินดา, สีลม แจ่มอุลิตรัตน์, องุ่น สังขพงศ์. ท่าทางการทำงานที่เป็นอันตรายและความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ในคนงาน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2558;15(2):80-88.

ฉันทนา จันทวงศ์, นิสากร กรุงไกรเพชร และพา ดาวเรื่อง. การดำเนินงานด้านการยศาสตร์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อโครงสร้างกระดูกในโรงงานยางแผ่นรมควัน จังหวัดระยอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2559;30(1):76-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27