ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุชัญญ์ญา เดชศิริ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • วุฒิชัย สมกิจ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จีระพรรณ อินทะวัน วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กำทร ดานา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ปัจจัยสัมพันธ์, การบริจาคอวัยวะ, ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองตาย ที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 มิถุนายน 2566 ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์คัดเข้าศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 213 ราย เก็บข้อมูลโดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านภาวะความเจ็บป่วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา และปัจจัยด้านข้อมูลการบริจาคอวัยวะ วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ และลักษณะกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณนา 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 213 ราย ยินยอมบริจาคอวัยวะ จำนวน 51 ราย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 15,000 – 25,000 บาทต่อเดือน (OR Adj 2.51; 95%CI = 1.14, 5.49; p = 0.022) และปัจจัยด้านข้อมูลการบริจาคอวัยวะ ได้แก่ การมี donor card หรือมีความประสงค์จะขอบริจาคอวัยวะไว้ล่วงหน้า (OR Adj 1.97; 95%CI = 1.24, 3.27; p < 0.001) ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการบริจาคอวัยวะจากสื่อต่างๆ (OR Adj 6.79; 95%CI = 1.45, 9.28; p < 0.001) ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองตาย (OR Adj 1.46; 95%CI = 1.13, 5.65; p < 0.001) และญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัดอวัยวะออกเพื่อไปปลูกถ่าย (OR Adj 2.49; 95%CI = 1.21, 4.06; p < 0.001)

สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 15,000 – 25,000 บาทต่อเดือน การมี donor card หรือมีความประสงค์จะขอบริจาคอวัยวะไว้ล่วงหน้า การมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการบริจาคอวัยวะจากสื่อต่างๆ การมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองตาย และการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัดอวัยวะออกเพื่อไปปลูกถ่าย

References

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย. รายงานประจำปี 2564 ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [วันที่ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.organdonate.in.th/assets/files/odc2564.pdf

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย. จำนวนผู้บริจาคอวัยวะศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย 2566[อินเตอร์เน็ต]. 2564 [วันที่ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.organdonate.in.th/assets/files/odc-news.pdf

กองบริหารการสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาระบบบริการบริจาคอวัยวะ เนื้อเยื่อ และดวงตากระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [วันที่ 1 กรกฎาคม 2566] เข้าถึงจาก : https://phdb.moph.go.th/main/index/detail/29570

เขตสุขภาพที่ 7. สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ เขตสุขภาพที่ 7. เอกสารอัดสำเนา 2566

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม. สถิติข้อมูลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายในโรงพยาบาลมหาสารคาม. เอกสารอัดสำเนา 2566.

Zeng M, Li H, Song X, Jiang J, Chen Y. Factors Associated with Willingness toward Organ Donation in China: A Nationwide Cross-Sectional Analysis Using a Social-Ecological Framework. Healthcare (Basel). 2023.10;11(6):824.

Singh JM, Ball IM, Hartwick M, Malus E, Soliman K, Boyd JG, Dhanani S, Healey A. Factors associated with consent for organ donation: a retrospective population-based study. CMAJ. 2021.15;193(45):E1725–32.

Mekkodathil A, El-Menyar A, Sathian B, Singh R, Al-Thani H. Knowledge and Willingness for Organ Donation in the Middle Eastern Region: A Meta-analysis. J Relig Health. 2020;59(4):1810-23.

Simpkin AL, Robertson LC, Barber VS, Young JD. Modifiable factors influencing relatives' decision to offer organ donation: systematic review. BMJ. 2009.21;338:b991.

ขวัญประภัสสร จันทร์บูลวัชร์. ความรู้ทัศนคติและความเชื่อเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะของบุคลากรในโรงพยาบาล. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2560; 6(2): 55 – 64.

Chen X, Wei W, Ai W. Organ donation: Key factors influencing the younger generation's decision-making in China. Front Public Health. 2023;6;11:1052875.

สกล สุขพรหม. ปัจจัยความสำเร็จในการเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะ ดวงตาและเนื้อเยื่อในเขตสุขภาพที่ 4. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2562; 9(3): 296 – 303

ธันยพัต พงศ์วิวัฒน์. ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติและการยอมรับการบริจาคอวัยวะของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี. 2556

ศศิพินทุ์ มงคลไชย ชื่น อินลา อำนวยพร นามมัน. การพัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2560; 25(1): 93 – 104.

สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ และวงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร.บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการตัดสินใจบริจาคอวัยวะของครอบครัวผู้ป่วยสมองตาย: กรณีศึกษา. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562; 12(1): 49-61.

ปิยาพัทธ์ อารีญาติ วิชุดา กิจธรธรรม ฐาศุกร์ จันประเสริฐ กระบวนการและสาเหตุของการตัดสินใจบริจาคและไม่บริจาคอวัยวะ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2561; 24(2): 173-191.

Hosmer DW, Lemeshow S. Applied logistic regression. 2nd Edition. New York: John Wiley & Sons, Inc.; 2000.

ปรายจรีย์ จิตกลาง, ศรีรัฐ ภักดีรณชิต, เสาวลักษณ์ พันธบุตร, ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล. ผลของกลยุทธ์สื่อต่อการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสังคม. 2562; 7(1): 168 – 177.

ระพีพรรณ์ โพธิ์ประทับ, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์. ทุนทางสังคมในการตัดสินใจบริจาคอวัยวะของครอบครัวผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; (3):99-122.

ดวงตา อ่อนสุวรรณ, สกานต์ บุนนาค, สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์, วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์, เพลินพิศ กาญจนบูรณ์. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(4): 780 – 792

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27