การพัฒนาระบบคุณภาพการถ่ายภาพรังสีสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ งานบริการผู้ป่วยนอก กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ภัทรพร แก้วอำไพ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

การวินิจฉัยทางการแพทย์, ภาพถ่ายรังสี, ความแม่นยำของภาพถ่ายรังสี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบคุณภาพการถ่ายภาพรังสีสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ให้มีความแม่นยำและปลอดภัย

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเพศชายและหญิงจำนวน 100 ราย ที่แพทย์วินิจฉัยและสั่งการตรวจด้วยรังสีทางการแพทย์โดยเป็นการทบทวนผลของภาพถ่ายรังสีทางการแพทย์จากแพทย์ผู้ตรวจประเมินผู้ป่วย

ผลการศึกษา : พบว่าเป็นผู้ป่วยเพศชายร้อยละ 54 อายุเฉลี่ย 50.01 (S.D.=20.21) มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ร้อยละ 27 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 67 มีผลลัพธ์ด้านคุณภาพและมีความแม่นยำสำหรับการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์จากภาพถ่ายรังสี ร้อยละ 99 ค่าเฉลี่ยความแม่นยำ (S.D.=0.00) และมีความไม่แม่นยำภาพและท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ร้อยละ 1 ค่าเฉลี่ยความไม่แม่นยำ (S.D.=0.00) ด้านระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในการอ่านภาพถ่ายรังสีพบว่าพึงพอใจระดับมาก และความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับพึงพอใจมากเช่นเดียวกัน

สรุปผลการศึกษา : ผลลัพธ์ของการถ่ายภาพรังสีสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์มีคุณภาพและความแม่นยำสูงในการถ่ายภาพรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการ

References

ธัญรัตน์ ชูศิลป์ และ ฐิติพงศ์ แก้วเหล็ก. ตัวบ่งชี้ปริมาณรังสีในระบบการถ่ายภาพรังสีแบบดิจิทัล.วารสารรังสีเทคนิค. 2561;43(1):21-28.

ประภัสสร ไกรหาญ และ ดวงฤดี สุภมาตย์.การประเมินค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสี(Exposure index:EI, Deviation index :DI) ในการถ่ายภาพทรวงอกเด็กอายุ 0-12 ปี โรงพยาบาลสิริน-ธร จังหวัดขอนแก่น. 2564;6(4):18-27.

คณะแพทย์ศาสตร์ศิรราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. รังสีวินิจฉัย. ทีซีจี พริ้นติ้ง จำกัด: กรุงเทพฯ; 2546.

นิวัติ วงษ์หลี. การสร้างความตระหนักในการป้องกันรังสีแก่ผู้รับบริการสำหรับผู้รับผิดชอบงานรังสีวิทยาในจังหวัดยะลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;1(1):76-84.

พวงรัตน์ มณีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร; 2540.

กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2565. นนทบุรี: 2565.

อุไรรัตน์ แก้วบุญเพิ่ม, สุธามาศ วัฒนาชัยสิทธิ์ และ ศรายุทธ แสงทับ. การศึกษาเปรียบเทียบ แผ่นบันทึกรังสีกับฟิล์มเอกซเรย์ ในการตรวจสอบความถูกต้องของพื้นที่ฉายรังสี ผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยรังสีโฟตอนพลังงานสูง. 2558;21(1):46-52.

อรุณ เจ็งทีและคณะ. ความพึงพอใจของแพทย์ผู้แปลผลต่อคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกในเด็ก. วารสารรามาธิบดีเวชสาร. 25563;36(1):65-68.

ทวีป แสงแห่งธรรม. ระบบภาพในงานรังสีรักษา (Imaging in radiotherapy). มะเร็งวิวัฒน์ วารสารสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย. 2559;22(1):16-23.

อภิสรา เทพานนท์และคณะ.การประเมินความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสื่อการจัดท่าภาพเอกซเรย์ แบบพิเศษแผนกรังสีวิทยา ณ โรงพยาบาลลําปาง.วารสารรังสีเทคนิค. 2564; 46(1):80-86.

พัทธนันท์ คงทอง และปัญญา โรจนวรรณ. ฟิล์มเสียจากการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศูนย์ตรัง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2564;5(2):21-28.

ผาณิต ฤกษ์ยินดี, วัลลภ ใจดี และ อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ. ความสอดคล้องระหว่างค่าความ แม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล และค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันสำหรับการตรวจติดตามผลความหนาแน่นขอกระดูก. วารสารบูรพาเวชสาร. 2564;8(1):28-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27